วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554


เพลงนี้ ชื่อ FUR ELISE มาจากภาษาเยอรมัน แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า FOR ELISE
หรือเรียกง่ายๆคือเป็นเพลงที่ Ludwig Van Beethoven ประพันธ์ออกมาเพื่อ "Elise" นั่นเอง

เพลงนี้เป็นเพลงที่แสดงถึงความรัก ความงดงาม ถ้าให้ผมแสดงความเห็นคือบรรยายถึงสตรีผู้นี้

เริ่มต้นเพลงด้วยตัวโน้ตที่ค่อนข้างซ้ำ เหมือนจะก้าวไปข้างหน้าแต่กลับมาสู่ท่วงทำนองเดิม

น่าจะคล้ายความประหม่า ที่มีความสุขในยามพบ

ท่อนก่อนจบน่าจะเป็นท่อนที่ค่อนข้างลุ้นระทึก ใช้ตัวโน้ตมือซ้ายรัวๆ มือขวาเป็นทางเดินคอร์ดซึ่งซ่อนเร้นทำนองหลักไว้

น่าจะเหมือนกับการพูดอย่างซ่อนเร้นความนัย ด้วยใจที่เต้นอย่างสั่นรัว

อาจจะเป็นช่วงเวลาที่เราอาจจะบอกรักใครสักคนก็ได้นะ ^^

The Bee Gees - How Deep Is Your Love, i started a joke,Massachusetts

บีจีส์
Bee Gees



ข้อมูลพื้นฐาน
แหล่งกำเนิดธงชาติของอังกฤษ แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ
ธงชาติของออสเตรเลีย บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย
แนวเพลงป็อป ดิสโก้ บลู-อายด์ โซล
ปีค.ศ. 1958ค.ศ. 2003
ค่ายFestival, Polydor, Atco, RSO, Warner Bros., Rhino
เว็บไซต์beegees.com
สมาชิก
แบร์รี กิบบ์
โรบิน กิบบ์
อดีตสมาชิก
มอริซ กิบบ์
โคลิน ปีเตอร์เซน
วินซ์ เมโลนีย์
จีออฟ บริดจ์ฟอร์ด

บีจีส์ (อังกฤษ: Bee Gees) ประกอบด้วยสามพี่น้องตระกูลกิ๊บส์ "มอริซ, โรบิน, แบร์รี" ทั้งสามคนเกิดที่เกาะมาน ประเทศอังกฤษ ช่วงวัยเด็กเล่นดนตรีในคลับเมืองแมนเชสเตอร์ ต่อมาย้ายไปพำนักในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย
โดยเริ่มต้นมาจากความสำเร็จในการทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "Saturday Night Fever" ยอดขายอัลบั้มรวม 110 ล้านชุด ติดอันดับ 1 ใน 5 งานดนตรีที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์เพลงป็อป เป็นรองก็แต่งานของอภิมหาศิลปินอย่าง “เอลวิส เพรสลีย์” “เดอะ บีเทิลส์” “ไมเคิล แจ็กสัน” และ “พอล แมคคาร์ตนีย์

 

 ประวัติ

สามพี่น้องตระกูลกิบบ์ส "มอริซ, โรบิน, แบร์รี" ทั้งสามคนเกิดที่เกาะมาน ประเทศอังกฤษ โดย มอริซและโรบินเป็นฝาแฝดกัน ปี 2498 สามพี่น้องกิบบ์ เริ่มโตพอที่จะออกตระเวนโชว์ความสามารถตามงานเทศกาล และรายการโทรทัศน์ต่างๆ โดยในช่วงนี้พี่น้องกิบบ์ใช้ชื่อวงหลายชื่ออาทิ “บูลแคตส์” และ “แร็ตเทิ้ล สเน็กส์” จนปี 2501 ต่อมาย้ายไปพำนักในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย พร้อมกับตั้งชื่อวงใหม่ว่า บีจีส์ (Bee Gees) ซึ่งย่อมาจากคำเต็ม ซึ่งคิดขึ้นจากดีเจวิทยุ บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) จากการนำชื่อย่อของเขาเอง และของ บิลล์ กู๊ด (Bill Goode) (ที่เห็นพวกเขาแสดงที่ Speedway Circuit เมืองบริสเบน) -นำมารวมกัน- ดังนั้นจึงไม่ได้ตั้งจำเพาะเจาะจงหมายถึง "Brothers Gibb"ตามความเข้าใจกันส่วนใหญ่
ค.ศ. 1962 บีจีส์เซ็นสัญญาทำอัลบั้มชุดแรก “เดอะ บีจีส์ ซิง แอนด์ เพลย์ 14 แบร์รี่ ซองส์” กับสังกัด“เฟสทีฟเร็กคอร์ด” แต่ไม่ประสบความสำเร็จในออสเตรเลีย ทำให้พี่น้องกิบบ์ตัดสินใจไปประเทศอังกฤษ ต่อมาใน ค.ศ. 1966 ในยุคที่เดอะ บีทเทิลส์โด่งดังเป็นอันมาก พวกเขามีโอกาสได้ร่วมงานกับ “โรเบิร์ต สติกวู้ด” จนมีผลงานชุด “นิวยอร์กไมนิ่ง ดิสแอสเตอร์ 1941” ออกวางตลาดกลาง ค.ศ. 1967 อัลบั้มชุดนี้ติดอันดับบนชาร์ตเพลงยอดนิยมทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลง “ทูเลิฟซัมบอดี” และมีเพลงฮิตอื่นอย่าง “ฮอลิเดย์” “แมสซาชูเล็ตต์” “เวิดส์” และ “ไอสตาร์ตเต็ดอะโจ๊กส์” เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเพลงของบีจีส์คือ เป็นเพลงป็อปเน้นเสียงประสานด้วยเสียงหลอกบีบเสียงให้สูงผิดธรรมชาติหรือที่ เรียกว่า “ฟอลเซตโต”ส่วนเนื้อเพลงจะมีมุมมองแปลกๆ
แต่แล้วก็เกิดความเห็นที่ไม่ลงรอยกันระหว่างพี่น้องทั้งสามคนจนได้แยกย้ายออกไปมีผลงานเดี่ยว ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนจะกลับมารวมตัวกันใหม่ใน ค.ศ. 1970 มอริซเข้าไปหลงใหลในแวดวงสังคมคนดัง กับศิลปินซุปเปอร์สตาร์ยุคนั้น เช่น เดอะ บีทเทิ้ลส์,เดวิด โบวี่ และไมเคิล เคน มอริซได้สมรสกับ “ลูลู่” นักร้องเพลงป็อปชื่อดังที่วิวาห์กันใน ค.ศ. 1967 แต่ชีวิตคู่ก็ต้องพังทลายในปี ค.ศ. 1974 จนมาแต่งงานครั้งที่สองกับ “อีวอน สเปนเซอร์ลีย์” โรคติดเหล้าของมอริซจึงดีขึ้น มอริซกลับมาดื่มหนักอีกครั้ง เมื่อแอนดี้น้องชายคนเล็กเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1988 เพราะเสพยาเกินขนาด
ในยุคสมัยดนตรีดิสโก้เฟื่องฟู ชื่อเสียงบีจีส์ขจรขจายไปทั่วโลก ภายหลังปล่อยอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ “แซตเทอร์เดย์ไนต์ฟีเวอร์” ที่มีจอห์น ทราโวตา แสดงนำประกอบด้วยเพลง “มอร์แดนอะวูแมน”“สเตอิ้ง อะไลฟ์” “ไจฟ์ ทอล์กกิ้น” ความสำเร็จได้รับการตอกย้ำด้วยอัลบั้ม “สปิริตส์แฮฟวิ่งโฟลว” ปี 2522 ซึ่งมีเพลงอันดับ 1 อย่าง เพลง “ทราจีดี้” ,“ทูมัชเฮฟเวน” และ“เลิฟยูอินไซด์เอาต์” จากนี้เองได้สร้างสถิติทำให้บีจีส์มีเพลงอันดับ 1 ในอเมริกาติดต่อกัน 6 เพลง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาร์ทเพลงอเมริกา (ซึ่งต่อมาวิทนีย์ ฮูสตันทำได้อีกครั้ง) อัลบั้มชุดนี้ทำยอดขาย 30 ล้านชุดทั่วโลก แต่เมื่อยุคดิสโก้ถึงคราวดับสูญในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 แนวดนตรียุคนั้นก็เข้าสู่กระแสของ “พังก์ร็อกและนิวเวฟ” ชื่อเสียงของบีจีส์ก็เงียบตามไปด้วย แต่ก็มีเพลงฮิตบนเกาะอังกฤษในปี พ.ศ. 2530 กับเพลง “ยูวินอะเกน” จากอัลบั้ม อี.เอส.พี. บีจีส์ ประคับประคองชื่อเสียงแบบเสมอตัวได้ต่อมาอีก 20 ปี และออกอัลบั้ม “ดิสอิสแวร์ไอเคมอิน” ค.ศ. 2001 ซึ่งมีเพลงดังอย่าง “อะโลน”
มอริซ กิบบ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2003

 บีจีส์ในประเทศไทย

ส่วนประเทศไทยเริ่มรู้จักบีจีส์ จากเพลง Melody Fair ในอัลบั้ม ‘Odessa’ ปี 2510 แต่ที่ถือว่าได้รับความนิยมจริงๆ เมื่อวงดนตรี “แกรนด์เอ๊กซ์” นิยมนำไปร้อง และบรรเลงในช่วงที่ยังเล่นดนตรีอยู่ที่แมนฮัตตัน คลับ ในยุคที่ยังมี “จำรัส เศวตาภรณ์” ทำหน้าที่ร้องนำระยะแรก จำรัสร้องเพลงบีบเสียงในสไตล์บีจีส์ แต่ไม่ได้รับการกล่าวขวัญมากนักจนกระทั่งเมื่อจำรัส ลาออกจากวงเพื่อไปทำธุรกิจของครอบครัว และได้ “แจ้-ดนุพล แก้วกาญจน์”เข้ามาเป็นนักร้องนำแทน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แกรนด์เอกซ์ได้ฉายา “บีจีส์เมืองไทย”

[

เพลง Yesterday Once More - The Carpenters

The Carpenters
   วง Carpenters เป็นวงที่มีมานานแล้ว น่าจะพอๆกับวง The BeeGees เลย
สมาชิกของวงนี้ประกอบด้วยสองพี่น้องในตระกูล Carpenter มี 2 คน
คนแรกก็คือ Richard Carpenter
คนที่สองคือก็คือ Karen Carpenter

ทั้งสองพี่น้องในตระกูล Carpenter เริ่มต้นบนถนนดนตรีด้วยการตั้งวงในสไตล์ Trio ร่วมกับเพื่อนซึ่งเป็นผู้เล่นในตำแหน่ง เบสกีตาร์ และเข้าร่วมประกวดวงตนตรีในงาน Hollywood Battle Of The Bands Contest. และพวกเขายังได้รับรางวัลชนะเลิศอีกด้วยหลังจากที่ได้รับรางวัลในครั้งนั้น พวกเขาได้พยายามที่จะพัฒนาวิธีการในการขับร้อง และประสานเสียงให้ดียิ่งขึ้น จนเมื่อพวกเขามั่นใจในผลงานของพวกเขาเองอย่างเต็มที่ จึงได้ส่ง Demo Tapes ไปยังบริษัทแผ่นเสียงต่างๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง Herb Alpert นักดนตรี และผู้ที่มีหุ้นส่วนใหญ่ในสังกัด A&M Records. ได้ฟังผลงานของพวกเขาจึงได้เรียกพวกเขามาเซ็นสัญญาเข้าในสังกัดในรูปแบบของวง Duo ภายใต้ชื่อ The Carpenters. พร้อม ๆ กับการออกซิงเกิ้ลนำร่องเพลงแรก ก็คือ “Close to You” ในปี 1970 ปรากฏว่าเพลงดังกล่าว ได้รับการต้อนรับจากคนฟังอย่างท่วมทัน และกลายเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่นั้นมาจนถึงช่วง กลางทศวรรษ ที่ 70 เลยทีเดียว เพลง Close to You สามารถขึ้นไปอยู่ในอันดับ 1 ในอเมริกา และอยู่อันดับ 6 สูงสุดในประเทศอังกฤษ

พวกเขาเคยมีผลงานที่ได้รับความนิยมมากมายไม่ว่าจะเป็น Bert Bacharach Scott Davis และ Poul Williams. เพลงของพวกเขามีท่วงทำนองที่ไพเราะนุ่มนวลและกลมกลืนอย่างยิ่งของการเรียบเรียงที่เรียกว่า Vocal harmony อันเป็นเอกลักษณ์ที่ยากเลียนแบบได้ของ The Carpenters จากฝีมือของRichard Carpenter


ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 ผลงานของ The Carpenters ค่อนข้างจะทิ้งช่วงไปนานพอสมควร โดยพวกเขามีผลงานใน Studio ล่าสุดในปี 1977 คืออัลบั้ม Passage ต่อมาอีก 1 ปี ออกอัลบั้มรวมเพลงชุด The Singles 1974 – 1978 หลังจากนั้นอีก 3 ปีจึงมีอัลบั้มชุด Made In America ในปี 1981 ซึ่งถือว่าเป็นชุดสุดท้ายของ Carpenters อย่างแท้จริง


วง Carpenter ได้ยุบตัวลงไปเนื่องจากความวิตกของตัว karen Carpenter ที่เป็นห่วงภาพลักษณ์ของตนเองค่อนข้างมาก เธอจึงใช้วิธีการลดความอ้วน และใช้ยาค่อนข้างมากจนทำให้สุขภาพของเธอเริ่มแย่ลงในระยะหลัง จนเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของเธอด้วยสาเหตุโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน อันมีผลมาจากโรคประจำตัวของเธอคือโรค Anorexia (โรคกลัวอ้วน). Karen Carpenter เสียชีวิตในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1983 อย่างไรก็ตามหลังการเสียชีวิตของ karen ในอีก 2 ปีต่อมา The Carpenters ยังคงมีอัลบั้มตามมาอีก 2 ชุด คือ An Old Fashioned Christmas (1984) และชุด Yesterday Once More (1985)

ประวัติของแต่ละคน





1.Richard Carpenterเกิดวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ที่เมือง New Heaven รัฐ Connecticut

ทำหน้าที่เล่นเปียโน, คีย์บอร์ด และร้อง



2.Karen Carpenter
เกิดวันที่ 2 มีนาคม 1950 ที่ New Heaven, Connecticut

เป็นนักร้องนำของวง

ส่วนเพลงที่ดัง ๆ ของ Carpenters คงจะเป็นเพลง “Close to you” และ “Yesterday Once More”

เพลง papa by paul anka

   พอล แองคา
พอล แองคา ปี 2007
พอล แองคา ปี 2007
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อจริงพอล อัลเบิร์ต แองคา
เกิด30 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 (69 ปี)
แหล่งกำเนิดออตทาวา รัฐออนแทริโอ แคนาดา
แนวเพลงป็อป
แจ๊ซ
ร็อก
อาชีพนักร้อง
นักแต่งเพลง
ช่วงปี1955 - ปัจจุบัน


พอล อัลเบิร์ต แองคา (อังกฤษ: Paul Albert Anka)เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 ในออตทาวา รัฐออนแทริโอ เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดงชาวแคนาดา ที่มีเชื้อสายเลบานอน เขาเป็นพลเมืองอเมริกันในปี 1990
แองคา โด่งดังในฐานะทีนไอดอลในช่วงปลายทศวรรษ 1950 และทศวรรษ 1960 เขามีเพลงดังอย่าง "Diana", "Lonely Boy", และ "Put Your Head on My Shoulder" เขายังเขียนเพลงดังที่เป็นที่รู้จักอย่างเพลงธีม The Tonight Show Starring Johnny Carson และเพลงดังของทอม โจนส์ ที่ชื่อ She's A Lady และแต่งเนื้อให้กับเพลงประจำตัวของแฟรงก์ ซินาตรา ที่ชื่อ "My Way"

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554



        วอลแตร์  
    
         วอลแตร์หันมาเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูงก็ตามแต่เขาก็ไม่ละเว้นที่จะโจมตีชนชั้นนี้ และในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกส่งเข้าคุกบัสตีย์ ขณะที่อยู่ในคุกเขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิป (Œdipe) ในปี พ.ศ. 2261 (ค.ศ. 1718) เพื่อต่อต้านความเชื่อทางศาสนา ต่อต้านความเชื่อเรื่องโชคเคราะห์ และชะตาลิขิต และเพื่อเน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์ ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อนำออกแสดงภายหลังที่เขาพ้นโทษ ก็ส่งผลให้วอลแตร์มีฐานะทัดเทียมกับกอร์เนย (Corneille) และ ราซีน (Racine) นักเขียนบทละครโศกนาฎกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 17 และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก ต่อมาเขาได้ใช้ชื่อ วอลแตร์ (Voltaire) ซึ่งเป็นชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิม
ในปี พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกมาจากคุกเขาถูกเนรเทศไปอังกฤษ (พ.ศ. 2269 - 2271) ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutus เพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriade เพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภา และพระสันตะปาปา
    นอกจากนี้ วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตัน และยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยา-ศาสตร์ผู้นี้อีกหลายเล่ม วอลแตร์เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลอง เขาไม่ยอมรับสมมติฐานใด ๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิงซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง Œdipe นับตั้งแต่นั้นมาวอลแตร์จึงโจมตีเรื่องอคติ และการขาดขันติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่เสมอ แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซ่อร์งานเขียนของเขา แต่วอลแตร์ก็ไม่เคยเกรงกลัว นอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง
     เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques หรือ Lettres anglaises) ออกมาในปี พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1734) จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซีเร (Cirey) ของมาดาม ดูว์ ชาเตอเล (Madame du Châtelet) ในแคว้นลอแรนน์ หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหล่อนมาก นับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนหนึ่ง
ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซีเร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ปรัสเซีย ซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse) ในปี พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (l’Académie française) และยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย จากการที่วอลแตร์เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของมาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour) พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนักที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ เครบียง (Crébillon) และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) มาดาม ดูว์ ชาเตอเล ก็ได้เสียชีวิตลง วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2286-2290 นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou La Destineé) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2291 (ค.ศ. 1748)
       นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญสองเรื่อง คือ ศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Le Siècle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มีโครเมกา (Micromégas) ต่อมาไม่นานวอลแตร์กลับได้พบความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปลับ และเมื่อมีปัญหากับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์เลเดลิส (Les Délices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดามเดอนี (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้สิบปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2300 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เน (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์ หรือ สุทรรศนนิยม (Candide ou L’optimisme) ในปีต่อมา ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากษ์ วิจารณ์ในศตวรรษที่18 ได้เป็นอย่างดี
           ในปี พ.ศ. 2306 ซึ่งพูดถึงการยอมรับศาสนาที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวกาลาส เหตุที่เขาเข้าไปช่วยเพราะเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ และคำตัดสินใหม่ก็ทำให้ตระกูลกาลาสพ้นผิด ภรรยาและบุตรธิดาของฌอง กาลาสก็ได้รับทรัพย์สมบัติของตระกูลคืน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วอลแตร์เปรียบเสมือนวีรบุรุษแห่งตำนาน เป็นประทีปแห่งปัญญาที่ไม่เคยมีปัญญาชนคนใดเคยทำมาก่อน
        ช่วงนี้วอลแตร์ก็ยังมีผลงานคือ ปทานุกรมปรัชญา (Le Dictionnaire Philosophique) ในปี พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) อีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุงปารีส ซึ่งโรงละครกอเมดีฟร็องแซซ (La Comédie Française) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรน (Irène) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ และช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ตบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง
ศตวรรษต่อมาวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) กล่าวว่า "วอลแตร์ คือ 1789" เพราะความคิดของวอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้ลุกฮือขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพให้ แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารป็องเตอง (Le Panthéon) ในปี 1791 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
 ผลงานของวอลแตร์
          ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี เขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย
อิทธิพลของวอลแตร์
        ผลงานตลอดชีวิตของวอลแตร์ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ความคิดวิพากษ์วิจารณ์” (L‘esprit critique) แก่ชาวฝรั่งเศสโดยรวม ความคิดวิพากวิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่ปรากฏในสังคมของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย เป็นต้น
วอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่าย ๆ เขาใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาและนำไปสู่สาธารณชน เพื่อทำให้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแนวคิดและความรู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชน วอลแตร์จึงเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและทำให้ผู้คนสนใจการเมืองการปกครองแบบอังกฤษ
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าวอลแตร์มีอิทธิพลต่อคริสตวรรษที่ 18 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332


ฌ็อง-ฌัก รูโซ

ฌ็อง-ฌัก รูโซ (ฝรั่งเศส: Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคแสงสว่าง

 ปรัชญาของรูโซ

คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ (back to nature) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"

 ทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม

รูโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (noble savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย
งานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีความต้องการอย่างอิสระ (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร   เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประฌักร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีของตนเอง รูโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์



         สัญญาประชาคม

สัญญาประชาคม (อังกฤษ: Social contract) ในความหมายที่นำมาใช้ในการเมืองไทยปัจจุบัน หมายถึง ความตกลงร่วมกันของประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ร่วมกันหรือกลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน กับฝ่ายตรงข้าม เพื่อเป็นการแสวงความตกลงและทางออกของปัญหาซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้างซึ่งหากปล่อยไว้อาจจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม
ความหมายที่แท้จริงนั้น "สัญญาประชาคม" หมายถึง ทฤษฎีสัญญาประชาคม อันเป็นนัยตามหลักกฎหมายธรรมชาติ มีลักษณะเป็น สำนึกของจริยธรรม ที่ผู้ปกครองควรตระหนักถึง สิทธิบางประการที่ผู้อยู่ใต้ปกครอง (ประชาคม) ได้ยอมสละไป (อาจเรียกได้ว่ายอมอยู่ใต้อำนาจของผู้ปกครอง) เพื่อความปลอดภัยของตนในสิทธิและเสรีภาพที่ยังคงเหลืออยู่ แนวคิดเช่นนี้เองที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยตรรกกะจากสำนึกจริยธรรมดังกล่าว หากมองในมุมกลับกันก็หมายความว่า อำนาจแท้จริงของผู้ปกครองนั้นมาจากประชาชนนั่นเอง ดังนั้นประชาชนควรจะเป็นผู้ที่ใช้สิทธิของตนเลือกผู้ปกครองขึ้นมา และในการนี้วิธีที่เหมาะสมก็คือการใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน
มีนักคิดหลายคนที่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนในการริเริ่มแนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม เช่น
อย่างไรก็ตามจุดริเริ่มแนวคิดนี้ในหนังสือ Leviathan (The Matter, Forme and Power of a Common Wealth Ecclesiasticall and Civil) นั้น ฮอบส์ไม่ได้เขียนเพื่อมุ่งกล่าวถึงสัญญาประชาคมโดยเฉพาะเจาะจง แต่มุ่งอธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์และโครงสร้างสังคม เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวฮอบส์เองนั้นปฏิเสธหลักการแบ่งอำนาจอธิปไตย ไม่ปฏิเสธระบอบกษัตริย์ แต่กล่าวถึงแนวทางการใช้อำนาจที่เหมาะสมเท่านั้น
  ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1

ประวัติชาวฝรั่งเศส


แบลส ปาสกาล
                                                    
แบลส ปาสกาล (ฝรั่งเศส: Blaise Pascal) เกิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2166 (ค.ศ. 1623) ที่เมือง Clermont (ปัจจุบันคือเมือง Clermont - Ferrand) ประเทศฝรั่งเศส เสียชีวิตเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2205 ค.ศ. 1662 ที่เมือง ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
แบลส ปาสกาล คือนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาผู้เคร่งครัดในศาสนา ปาสกาลเป็นเด็กที่มหัศจรรย์มีความรู้เหนือเด็กทั่ว ๆ ไปโดยได้ศึกษาเล่าเรียนจากพ่อของเขาเอง ปาสกาลจะตื่นทำงานแต่เช้าตรู่ท่ามกลางธรรมชาติโดยมักเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเครื่องคิดเลขและการศึกษาเกี่ยวกับของเหลว ทำให้เขาเข้าใจความหมายของความดันและสุญญากาศด้วยการอธิบายของ อีวันเกลิสตา ตอร์ริเชลลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของกาลิเลโอ
ปาสกาลเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดในวงการคณิตศาสตร์ เขาสร้างสองสาขาวิชาใหม่ในการทำรายงาน เขาเขียนหนังสือที่สำคัญบนหัวข้อผู้ออกแบบเรขาคณิตเมื่ออายุเพียง 16 ปีและยังติดต่อกับ ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) เกี่ยวกับทฤษฎีความน่าจะเป็น ความมั่นคง อิทธิพลของการพัฒนาของเศรฐกิจสมัยใหม่และวิทยาศาสตร์สังคม ประสบการณ์อันน่ามหัศจรรย์ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) ปาสกาลออกจากวงการคณิตศาสตร์และฟิสิกส์โดยอุทิศตัวเพื่องานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา สองงานของเขามีชื่อเสียงมากในช่วงเวลานั้นคือLettres provinciales และ Pens?es อย่างไรก็ตามเขาได้รับโรคร้ายเข้าสู่ร่างกาย และได้เสียชีวิตหลังจากงานวันเกิดครบรอบอายุ 39 ปีเพียงสองเดือน
ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%AA_%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5


หลุยส์ ปาสเตอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์
หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)( พ.ศ. 2365-2395)
           นักวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410 ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว

           การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลลิ ซึ่งเป็นเป็นสมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม
           ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์  หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่โลก