วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โรคคอตีบ

            ช่วงนี้เป็นข่าวกันหนัก สำหรับโรคคอตีบ ซึ่งได้ระบาดกันมากในภาคอีสาน ส่วนมากจะเป็นเด็กๆ แต่ผู่ใหญ่ก็สามรถเป็นกันได้นะคะ บางคนอาจจะสงสัยว่า โรคคอตีบคืออะไร เกิดจากอะไร และเป็นได้อย่างไร ??
             วันนี้เราจะมาอธิบายกันว่าโรคคอตีบเกิดจากสาเหตุใด และเป็นได้อย่างไร เราลองไปอ่านด้านล่างดูนะคะ :D


                โรคคอตีบ(Diphtheria) เป็นโรคเกิดจากทางเดินหายใจติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิด Chorynebacterium diphtheriae ปัจจุบัน เป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่อง จากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนอย่างทั่วถึง แต่ยังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อนที่ยังไม่พัฒนา หรือ กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย เพราะการขาดแคลนวัคซีน หรือเด็กไม่ได้รับวัคซีนเพราะคลอดเองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เป็นโรคของเขตร้อน แต่ก็สามารถพบโรคเกิดได้ทั่วโลก รวมทั้งเคยมีการระบาดมาแล้วในประเทศเยอรมัน และประเทศแคนาดา
                 พบเกิดได้เท่ากันทั้งในผู้หญิง และในผู้ชาย โดยเป็นโรคพบได้ในทุกอายุ แต่มักไม่พบในเด็กอ่อนอายุต่ำกว่า 6 เดือน เนื่องจากเด็กช่วงอายุนี้ได้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจากแม่ ซึ่งจะหมดไปเมื่อเด็กมีอายุได้ประมาณ 6 เดือน โดยทั่วไป ในประเทศที่ยังไม่พัฒนา มักพบโรคเกิดในเด็กเล็ก แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เมื่อเกิดโรคมักพบในวัยตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เนื่องจากขาดการฉีดวัคซีนกระตุ้น ซึ่งต้องฉีดทุกๆ 10 ปี
                ปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคคอตีบ คือ คนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่) หรือ ผู้ใหญ่ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนกระตุ้น การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัดและขาดสุขอนามัย และในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ

เชื้อคอตีบก่อโรคและติดต่อได้อย่างไร?

                    แหล่งรังโรคของเชื้อโรคคอตีบ คือ มนุษย์ โดยเชื้ออาศัยอยู่ใน โพรงจมูก โพรงหลังจมูก ในลำคอ และอาจพบที่ผิวหนังได้ นอกจากนั้น อาจพบเชื้อโรคคอตีบได้ใน ดิน และในบางแหล่งน้ำธรรมชาติ
คอตีบเป็นโรคติดต่อได้ง่าย และระบาดได้รวดเร็ว โดยติดต่อจากการใกล้ชิดคลุกคลีกับผู้ป่วย รวมทั้งการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย ละอองหายใจ และจากการไอ จาม นอกจากนั้น ยังอาจพบติดต่อผ่านทางเชื้อที่ปนในอาหาร เช่น ในนม แต่พบโอกาสติดต่อด้วยวิธีนี้ได้น้อยกว่า
เมื่อได้รับเชื้อ เชื้อจะอยู่ในบริเวณส่วนตื้นๆของเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ เช่น โพรงจมูก ต่อมทอนซิล ในลำคอ และในกล่องเสียง หลังจากนั้น เชื้อจะสร้างสารพิษซึ่งเป็นโปรตีนมีพิษต่อร่างกายชนิดหนึ่ง เรียกว่า Diphtheria toxin ซึ่งสารพิษนี้จะก่อให้เกิดการอักเสบของเยื่อเมือกในทางเดินหายใจ เกิดการตายของเซลล์เยื่อเมือกในทางเดินหายใจ ของเซลล์เม็ดเลือดขาว และของเม็ดเลือดแดง รวมทั้งการตายสะสมของตัวแบคทีเรียเอง ก่อให้เกิดเป็นแผ่นเยื่อหนา สีเทา-น้ำตาล ปกคลุมหนาในทางเดินหายใจ จึงก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจึงมีอาการหายใจไม่ออก คล้ายมีอะไรบีบรัดในทางเดินหายใจ (เป็นที่มาของชื่อโรค คอตีบ) แผ่นเยื่อนี้พบเกิดได้ตั้งแต่ในโพรงจมูก ลงไปจนถึงในลำคอ โดยพบบ่อยที่สุดในบริเวณต่อมทอนซิล และคอหอย
นอกจากนั้น สารพิษยังอาจแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต (เลือด) และอาจก่ออาการอักเสบกับ อวัยวะ และ เนื้อเยื่อต่างๆได้ ที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ/หรือ ประสาทอักเสบ ซึ่งอาจเกิดได้หลังเกิดอาการจากโรคประมาณ 2-10 สัปดาห์

โรคคอตีบมีอาการอย่างไร?

                   อาการของโรคคอตีบมักเกิดหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-5 วัน (ระยะฟักตัวของโรค) แต่อาจนานได้ถึง 10 วัน และผู้ป่วยมักมีอาการอยู่ได้นานถึง 4-6 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
อาการพบบ่อยของโรคคอตีบ คือ
  • มีไข้ มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส อาจรู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย เจ็บคอมาก กิน/ดื่มแล้วเจ็บคอมาก จึงกิน/ดื่มได้น้อย
  • หายใจลำบาก หายใจไม่ออก หายใจเร็ว หอบ เหนื่อย
  • คออาจบวม และไอ เสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • มีแผ่นเยื่อในจมูก ต่อมทอนซิล ลำคอ และกล่องเสียง ก่ออาการค่อยๆมีเสียงแหบลงเรื่อยๆ และน้ำมูกอาจมีเลือดปน
  • มีต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ บวม โต ซึ่งโตได้ทั้งสองข้าง
  • หลังจากมีอาการทาง ทางเดินหายใจแล้ว อาจพบมีแผลบริเวณผิวหนัง พบได้ทั่วตัว แต่พบบ่อยบริเวณ แขน และขา แผลมีลักษณะเหมือนแผลทั่วไป แต่เมื่อตรวจเชื้อจะพบว่าเกิดจากเชื้อโรคคอตีบ

แพทย์วินิจฉัยโรคคอตีบได้อย่างไร?

                   แพทย์วินิจฉัยโรคคอตีบได้จาก ประวัติอาการ ประวัติสัมผัสโรค ประวัติการฉีดวัคซีน การตรวจร่างกาย การตรวจย้อมเชื้อจากการป้ายสารคัดหลั่งจากโพรงหลังจมูก หรือจากลำคอ และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจเลือด ซีบีซี (CBC) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการเอกซเรย์ปอด

รักษาโรคคอตีบได้อย่างไร?

                   แนวทางการรักษาโรคคอตีบ มักเป็นการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสมอเพราะเป็นโรคที่มีอาการรุนแรง การรักษาได้แก่ การให้ยาต้านสารพิษของเชื้อ การให้ยาปฏิชีวนะ และการฉีดวัคซีนโรคคอตีบเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อโรค
นอกจากนั้น คือ การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้น้ำเกลือ และให้สาร อาหารทางหลอดเลือดดำ การใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งบางครั้งอาจต้องเจาะคอถ้าแผ่นเยื่อจากโรคหนามาก จนทางเดินหายใจแคบเกินกว่าจะหายใจเองได้ และการให้ออกซิเจน

โรคคอตีบรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

                        ผลข้างเคียงจากโรคคอตีบเกิดจากสารพิษแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิตและก่อให้เกิดโรคต่างๆดังได้กล่าวแล้ว ซึ่งที่อาจพบได้ คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (หอบ เหนื่อย นอนราบไม่ได้ บวม) และ ประสาทอักเสบ (กล้ามเนื้ออ่อนแรง) ซึ่งถ้าเกิดกับประสาทกล้ามเนื้อหาย ใจ จะส่งผลให้หายใจเองไม่ได้
โรคคอตีบจัดเป็นโรครุนแรง เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคขึ้นกับ การได้รับยาต้านสารพิษและยาปฏิชีวนะอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วันหลังมีอาการ ซึ่งช่วยลดอัตราเสียชีวิตลงเหลือประมาณ 1% แต่ถ้ามาพบแพทย์ล่าช้า หรือเมื่อผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรืออายุสูงตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือเกิดผลข้างเคียงแล้ว อัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20%

ดูแลอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

                      การดูแลตนเอง หรือ การดูแลเด็ก คือ การรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการดังกล่าว นอกจาก นั้น ดังกล่าวแล้วว่า คอตีบเป็นโรคติดต่อได้ง่าย รวดเร็ว และรุนแรง ดังนั้นผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย รวม ทั้งผู้ดูแลผู้ป่วย ควรพบแพทย์เสมอ เพื่อขอรับคำแนะนำ อาจต้องตรวจเชื้อจากโพรงหลังจมูก และอาจจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ หรือ ฉีดกระตุ้น (ในคนเคยได้วัคซีนมาก่อนแล้ว) รวมทั้งการได้รับยาปฏิชีวนะเมื่อตรวจพบเชื้อทั้งๆที่ยังไม่มีอาการ ทั้งนี้ขึ้นกับคำ แนะนำของแพทย์

ป้องกันโรคคอตีบอย่างไร?

                    การป้องกันโรคคอตีบที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งเริ่มฉีดเมื่ออายุ 2 เดือน โดยอยู่ในรูปแบบของวัคซีนรวม โรคคอตีบ โรคบาดทะยัก และโรคไอกรน (DTP vaccine/ วัคซีน ดีพีที:Diphtheria, Tetanus และ Pertussis) ฉีดทั้งหมด 5 เข็ม เป็นระยะๆจาก อายุ 2 เดือน จนถึงอายุ 6 ปี ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของกระทรวงสาธารณสุขของเรา พ.ศ. 2548 โดยเข็มแรกฉีดที่อายุ 2 เดือน เข็มที่ 2 อายุ 4 เดือน เข็มที่ 3 อายุ 6 เดือน เข็มที่ 4 อายุ 18 เดือน และเข็มที่ 5 อายุ 4-6 ปี ต่อจากนั้นฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 12-16 ปี เฉพาะวัคซีนคอตีบและบาดทะยัก (วัคซีน ดีที/DT) ไม่ต้องฉีดวัคซีนไอกรนเพราะเป็นโรคมักพบเฉพาะในเด็ก และต่อไปฉีดกระตุ้นทุกๆ 10 ปี เฉพาะวัคซีน ดีที
นอกจากนั้น คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ซึ่งที่สำคัญคือ

บรรณานุกรม

  1. วัคซีน. โรงพยาบาลเด็ก http://www.childrenhospital.go.th/main/ph/PEOPLE/VACCINE/MAIN.HTM#03
  2. Braunwald, E., Fauci, A., Kasper, L., Hauser, S., Longo, D., and Jameson, J. (2001). Harrison’s principles of internal medicine (15th ed.). New York: McGraw-Hill.
  3. Diphtheria http://en.wikipedia.org/wiki/Diphtheria [2012, Jan 20].
  4. Diphtheria http://emedicine.medscape.com/article/963334-overview#showall [2012, Jan 20].

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ราชบัณฑิตเสนอแก้ คำไทย 176 คำ มีศัพท์ฮิตหลายคำที่เปลี่ยนไป

นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้กองศิลปกรรมได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นประมาณ 300 ชุด เกี่ยวกับการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เพื่อสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต และผู้ที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ เนื่องจากพบว่ามีคำศัพท์ที่ยืมมาจากคำภาษาอังกฤษ 176 คำ เขียนผิด และไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ

นางกาญจนา กล่าวต่อว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นมาจากขั้นตอนการถอดคำ หรือว่ายืมคำมาจากภาษาอังกฤษ เมื่อแปลมาเป็นภาษาไทย ไม่ได้เติมวรรณยุกต์เสียงเอก โท หรือตรี ให้ตรงตามอักขรวิธีไทย อย่างคำว่า"แคลอรี" การเขียนให้ตรงกับการออกเสียงต้องเป็น "แคลอรี่" หรือว่าคำว่า "โควตา" ถ้าจะให้ตรงกับการออกเสียงต้องเป็นคำว่า "โควต้า" รวมทั้ง "เรดาร์" ต้องเป็นคำว่า "เรด้าร์"

นางกาญจนา กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้สอบถามความเห็นจากสภาราชบัณฑิต ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเติมวรรณยุกต์ และเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ทั้ง 176 คำ เพื่อเขียนให้ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูผลการสำรวจความคิดเห็นอีกครั้งว่าส่วนใหญ่จะเห็นด้วยทุกคำ หรือเห็นด้วยเฉพาะบางคำ ซึ่งตามกำหนดเวลาแล้ว ภายในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ทุกคนต้องส่งแบบสอบถามดังกล่าวกลับที่กองศิลปกรรม เพื่อประมวลผลความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่ ทั้งนี้การขอปรับแก้คำศัพท์ทั้ง 176 คำนั้น หากเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าควรเปลี่ยน ก็จะนำไปบรรจุในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ.2554 ซึ่งกำลังดำเนินการปรับปรุงเพื่อจัดพิมพ์เล่มใหม่

คำศัพท์ที่อยู่ในแบบสำรวจ เพื่อขอความเห็นในการเปลี่ยนแปลงการเขียนใหม่ มีดังนี้

1.คำที่ใส่เครื่องหมายไม้ไต่คู้เพื่อแสดงสระเสียงสั้น ได้แก่
ซีเมนต์ - ซีเม็นต์
เซต-เซ็ต
เซนติกรัม-เซ็นติกรัม
เซนติเกรด-เซ็นติเกรด
เซนติลิตร-เซ็นติลิตร
ไดเรกตริกซ์-ไดเร็กตริก
เทนนิส-เท็นนิส
นอต-น็อต
นิวตรอน-นิวตร็อน
เนตบอล-เน็ตบอล
เนปจูน-เน็ปจูน
เบนซิน-เบ็นซิน
แบคทีเรีย-แบ็คทีเรีย
มะฮอกกานี-มะฮ็อกกานี
เมตริก-เม็ตตริก
เมตริกตัน- เม็ตริกตัน
แมงกานิน-แม็งกานิน
อิเล็กตรอน-อิเล็กตร็อน
เฮกโตกรัม-เฮ็กโตกรัม
เฮกโตลิตร-เฮ็กโตลิตร

2.คำที่เปลี่ยนตัวพยัญชนะเป็นอักษรสูง ได้แก่
คอร์ด-ขอร์ด
แคโทด-แคโถด
ซัลเฟต-ซัลเฝต
ไทเทรต-ไทเถรต
ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ
พาร์เซก-พาร์เส็ก
แฟลต-แฝล็ต
สเปกโทรสโกป-สเป็กโทรสโขป
ไอโซโทป-ไอโซโถป


3.คำที่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เอก ได้แก่
กอริลลา-กอริลล่า
แกโดลิเนียม-แกโดลิเนี่ยม
แกมมา-แกมม่า
แกลเลียม-แกลเลี่ยม
คูเรียม-คูเรี่ยม
แคดเมียม-แคดเมี่ยม
แคลเซียม-แคลเซี่ยม
แคลอรี-แคลอรี่
โครเมียม-โครเมี่ยม
ซิงโคนา-ซิงโคน่า
ซิลิคอน-ซิลิค่อน
ซีเซียม-ซีเซี่ยม
ซีนอน-ซีน่อน
ซีเรียม-ซีเรี่ยม
โซลา-โซล่า
ดอลลาร์-ดอลล่าร์
เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่
แทนทาลัม-แทนทาลั่ม
ไทเทเนียม-ไทเทเนี่ยม
เนบิวลา-เนบิวล่า
ไนลอน-ไนล่อน
แบเรียม-แบเรี่ยม
ปริซึม-ปริซึ่ม
ปิโตรเลียม-ปิโตรเลี่ยม
แพลทินัม-แพลทินั่ม
ฟังก์ชัน-ฟังก์ชั่น
ฟาทอม-ฟาท่อม
ไมครอน-ไมคร่อน
ยิปซัม-ยิปซั่ม
ยูเรเนียม-ยูเรเนี่ยม
เลเซอร์-เลเซ่อร์
วอลเลย์บอล-วอลเล่ย์บอล
อะลูมิเนียม-อะลูมิเนี่ยม
อีเทอร์-อีเท่อร์
เอเคอร์-เอเค่อร์
แอลฟา-แอลฟ่า
ฮาห์เนียม-ฮาห์เนี่ยม
ฮีเลียม-ฮีเลี่ยม


4.คำที่ใส่ ห นำเพื่อแสดงเสียงวรรณยุกต์เอก ได้แก่
กะรัต-กะหรัต
แกรนิต-แกรหนิต
คลินิก-คลิหนิก
คาทอลิก-คาทอหลิก
คาร์บอเนต-คาร์บอเหนต
คาร์บอลิก-คาร์บอหลิก
โคออร์ดิเนต-โคออร์ดิเหนต
รูเล็ตต์- รูเหล็ตต์


5.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์โท ได้แก่
กลูโคส-กลูโค้ส
กิโลไซเกิล-กิโลไซเกิ้ล
กิโลเมตร-กิโลเม้ตร
กิโลเฮิรตซ์-กิโลเฮิ้รตซ์
กีตาร์-กีต้าร์
แกรไฟต์-แกรไฟ้ต์
คาร์บอน-คาร์บ้อน
คาร์บูเรเตอร์-คาร์บูเรเต้อร์
เคเบิล-เคเบิ้ล
โควตา-โควต้า
ชอล์ก-ช้อล์ก
ซอส-ซ้อส
โซเดียม-โซเดี้ยม
ไดนาไมต์-ไดนาไม้ต์
แทนเจนต์-แทนเจ้นต์
แทรกเตอร์-แทรกเต้อร์
นิกเกิล-นิกเกิ้ล
ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ
ไนโตรเจน-ไนโตรเจ้น
บารอมิเตอร์-บารอมิเต้อร์
บีตา-บีต้า
ปาทังกา-ปาทังก้า
ปาร์เกต์-ปาร์เก้ต์
พลาสติก-พล้าสติก
ฟาสซิสต์- ฟ้าสซิสต์
มอเตอร์-มอเต้อร์
เมตร-เม้ตร
ไมกา-ไมก้า
ยีราฟ-ยีร้าฟ
เรดอน-เรด้อน
เรดาร์-เรด้าร์
เรเดียม-เรเดี้ยม
ลิกไนต์- ลิกไน้ต์
แวนดา-แวนด้า
อาร์กอน-อาร์ก้อน
แอนติบอดี-แอนติบอดี้
เฮิรตซ์-เฮิ้รตซ์
ไฮดรา-ไฮดร้า
ไฮโดรเจน-ไฮโดรเจ้น


6.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์ตรี ได้แก่
กราฟ-กร๊าฟ
กอซ-ก๊อซ
กอล์ฟ-ก๊อล์ฟ
เกาต์-เก๊าต์
ออกไซด์-อ๊อกไซด์
โคบอลต์- โคบ๊อลต์
ดราฟต์-ดร๊าฟต์
ดัตช์-ดั๊ตช์
ดิสโพรเซียม-ดิ๊สโพรเซี่ยม
เดกซ์โทรส-เด๊กโทรัส
เต็นท์-เต๊นท์
บาสเกตบอล-บ๊าสเก้ตบอล
บิสมัท-บิ๊สมั้ท
แบงก์-แบ๊งก์
โบต-โบ๊ต
ปลาสเตอร์-ปล๊าสเต้อร์
ปิกนิก-ปิ๊กหนิก
ออกซิเจน-อ๊อกซิเย่น
ออกซิเดชัน-อ๊อกซิเดชั่น
ออกไซด์-อ๊อกไซด์
อาร์ต-อ๊าร์ต
เอกซเรย์-เอ๊กซเรย์
แอสไพริน-แอ๊สไพริน
แอสฟัลต์-แอ๊สฟัลต์
โอ๊ด-โอ๊ต


7.คำที่มีหลายพยางค์ ได้แก่
คอนเดนเซอร์-ค็อนเด็นเซ่อร์
คอนแวนต์-ค็อนแว็นต์
คอนเสิร์ต-ค็อนเสิร์ต
คอมพิวเตอร์-ค็อมพิ้วเต้อร์
คอมมานโด-ค็อมมานโด
คอมมิวนิสต์-ค็อมมิวนิสต์
คูปอง- คูป็อง
เครดิตฟองซิเอร์-เครดิตฟ็องซิเอร์
แคดเมียม-แค็ดเมี่ยม
แคปซูล-แค็ปซูล
แคลเซียมไซคลาเมต-แคลเซี่ยมไซคลาเมต
ช็อกโกเลต/ ช็อกโกแลต-ช็อกโกแล็ต
เซนติเมตร-เซ็นติเม้ตร
โซเดียมคาร์บอเนต-โซเดี้ยมคาร์บอเหนต
โซเดียมไซคลาเมต-โซเดี้ยมไซคลาเหมต
โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต-โซเดี้ยมไฮโดรเจ้นกลูตาเหมต
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต-โซเดี้ยมไฮโดรเจ้นคาร์บอเหนต
ดีเปรสชัน-ดีเปร๊สชั่น
เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่
แทรกเตอร์-แทร็กเต้อร์
แบดมินตัน-แบ็ดมินตั้น
แบตเตอรี่-แบ็ตเตอรี่
พลาสมา-พล้าสม่า
โพแทสเซียม-โพแท้สเซี่ยม
เมนทอล-เม็นท่อล
แมงกานีส-แม็งกานี้ส
แมกนีเซียม-แม็กนีเซี่ยม
รีดักชัน-รีดั๊กชั่น
ลอการิทึม-ล็อกการิทึ่ม
สเปกตรัม-สเป๊กตรั้ม
สเปกโทรสโกป-สเป็กโตรสโขป
ออกซิเดชัน-อ๊อกซิเดชั่น
อัลตราไวโอเลต-อัลตร้าไวโอเหล็ต
แอกทิเนียม-แอ๊กทิเนี่ยม
แอนติอิเล็กตรอน-แอ็นติอิเล็กตร็อน
เฮกตาร์-เฮ็กต้าร์
เฮกโตเมตร- เฮ็กโตเม้ตร


ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://youtu.be/m0bfn7lTWxk