วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของน้ำมันปลา (Fish Oil)


น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่สกัดจากส่วนของเนื้อ หนัง หัว และหางของปลาทะเลน้ำลึกโดยเฉพาะปลาในเขตหนาว ในน้ำมันปลามีกรดไขมันหลายชนิด แต่ที่สำคัญและมีการนำมาใช้ทางการแพทย์ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 และกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก EPA (Eicosapentaenoic acid) และกรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก DHA (Docosahexaenoic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น สำหรับกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีผลในการลดไขมันในเลือด พบมากในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น


            ในปี ค.ศ. 1976 ได้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าชาวเอสกิโม ซึ่งอาหารหลักในชีวิตประจำวันคือ ปลา มีอุบัติการณ์เกิดเส้นเลือดอุดตันต่ำมาก รวมทั้งพบว่ามีระดับไขมันในเลือดต่ำ การเกาะกันของเกล็ดเลือดน้อยกว่าชาวเดนมาร์กซึ่งอาหารหลักคือเนื้อสัตว์และ ผลิตภัณฑ์นม และสี่ปีต่อมาในปีค.ศ. 1980 ผลการวิจัยในประเทศญี่ปุ่นพบว่าชาวบ้านในหมู่บ้านประมงซึ่งรับประทานปลาเป็น อาหารหลักก็มีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจต่ำกว่าทั่วไป การเกาะกันของเกล็ดเลือดและความหนืดของเลือดต่ำกว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านที่ เลี้ยงสัตว์ อาหารประจำวันของผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านประมงเป็นอาหารทะเลมากกว่าในหมู่บ้าน ที่เลี้ยงสัตว์กว่า 2 เท่า และยังพบว่าในอาหารทะเลมีกรดไขมันชนิด EPAในปริมาณสูง

            คณะผู้วิจัยได้สกัดกรดไอโคซาเพนตาอีโนอิกออกจากน้ำมันปลาซาร์ดีน บรรจุในแคปซูลให้อาสาสมัครรับประทาน วันละ 1.4 กรัม พบว่าความหนืดของเลือดของอาสาสมัครลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนหลังจากรับประทาน ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เกิดข้อสรุปว่าอาหารทะเลช่วยลดความหนืดของเลือดซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการ ป้องกันหรือรักษาภาวะเส้นเลือดอุดตัน นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1983 เป็นต้นมา น้ำมันปลาก็เริ่มเป็นที่สนใจรู้จักกันทั่วไป แต่ในเวลานั้นผลการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสรุปประสิทธิภาพของน้ำมัน ปลาในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้อย่างแน่นอน เพราะการศึกษาไม่ได้ทำในวงกว้างขวาง จนกระทั่งสิบกว่าปีผ่านไปพร้อมกับรายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์ออกมาเรื่อยๆว่า น้ำมันปลามีประสิทธิภาพในการป้องกันหลอดเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ และยังมีรายงานว่าช่วยป้องกันโรคมะเร็งและข้ออักเสบได้อีกด้วย

            แหล่งน้ำมันปลาในธรรมชาติที่ดีที่สุด คือ ปลาทะเล หอยนางรมแปซิฟิก และปลาหมึก ปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า ซาบะ ซาร์ดีน เฮอร์ริ่ง แองโชวี่ ไวท์ฟิช บลูฟิช ชอคฟิช เทราท์ แมคเคอเรล เป็นต้น ปลาทะเลที่มีน้ำมันปลามาก คือ ปลาทู ปลาสำลี ปลารัง ปลากระพง เป็นต้น พบว่าปลาที่จับได้ในธรรมชาติจะมีปริมาณกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในสัดส่วนที่เหมาะสม ส่วนปลาที่เลี้ยงในบ่อจะมีปริมาณของกรดโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3 ปัจจุบันน้ำมันปลาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ได้รับความนิยมในการรับประทาน อย่างแพร่หลาย ส่วนน้ำมันตับปลาที่เรารู้จักกันดี สกัดจากตับของปลาทะเล เช่นปลาคอด แฮลิบัท เฮอร์ริ่ง มีสารสำคัญคือวิตามินเอ และดี

ประโยชน์ของน้ำมันปลา

            ลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด และเพิ่มระดับของเอชดีแอลโคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมันที่ดี น้ำมันปลาสามารถลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอยมาก ผู้ชายที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เมื่อให้กินปลาประมาณ 18 ออนซ์ต่อวันเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงและระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น

            ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไม่เกาะตัวเป็นลิ่ม เลือดจึงไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น

            ลดความดันโลหิต จากรายงานผลการศึกษาวิจัยพบว่าอาหารที่ประกอบด้วยปลาหางแข็งหรือปลาทูซึ่งมีEPA ในปริมาณ 2.2 กรัมต่อวันสามารถลดความดันเลือดซิสโตลิกในคนไข้ที่มีโรคความดันผิดปกติทาง กรรมพันธุ์ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และทำให้เกิดโรคหัวใจในขณะที่อายุยังน้อยอยู่ อาหารที่มีปลาหางแข็งหรือปลาทู ยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลงได้เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นระดับกลับสูงขึ้นไปเหมือนเดิมอีก ในผู้ที่มีความดันเลือดสูงในระดับปานกลาง พบว่าอาหารที่มีปลาหางแข็งหรือปลาทูลดความดันซิสโตลิกลงได้เกือบร้อยละ 10 ระดับโซเดียมในเลือดลดลง และเรนินซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวหนึ่งที่สร้างในไตซึ่งมีผลมากต่อความดันเลือด นั้น ก็ทำงานได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 64 การศึกษาวิจัยในผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงเล็กน้อย โดยให้กินน้ำมันปลาแคปซูลเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าความดันตัวบนหรือซิสโตลิกลดลงอย่างชัดเจน

บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของโรคปวดข้ออักเสบรูมาตอยด์

บำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

ลดการอักเสบของโรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง

ความสำคัญของน้ำมันปลา

            กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกมีความจำเป็นต่อการพัฒนาของจอตาและสมองของทารก แต่ทารกไม่สามารถสังเคราะห์ DHA ได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยจากน้ำนมแม่ โดยทารกแรกเกิดควรได้รับ DHA ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม จากการศึกษายังพบว่าเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อได้รับนมเสริม DHA จะสามารถมองเห็นได้ชัดเร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้รับอีกด้วย มารดาและหญิงที่ให้นมบุตรจึงควรบริโภค DHA อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกที่ได้รับ ส่งต่อไปยังลูกโดยผ่านทางรกและน้ำนม

            กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์สมองและเซลล์ประสาทซึ่งมีผลต่อ สติปัญญา หากร่างกายขาด DHA จะทำให้เซลล์สมองและเซลล์ประสาทขาดประสิทธิภาพไปด้วย เด็กในวัยนี้จึงควรได้รับ DHA ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของสมอง

            คนในวัยทำงานมักประสบความเครียดอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะร่างกายขาด DHA ในปริมาณที่เหมาะสม กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกจะผ่านเข้าไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาท ของเซลล์สมอง ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้สมองทำงานดีขึ้น หากรับประทานอาหารที่มีกรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สัดส่วนของ DHA ในสมองสูงขึ้น ซความเครียดจะลดลงและสมองทำงานได้ดียิ่งขึ้น

            ผู้สูงอายุจะเกิดภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่นๆโดยไม่ ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แต่จากการทดลองโดยการให้กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกแก่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ใน ประเทศญี่ปุ่น พบว่าความสามารถในการคำนวณ ความสามารถในการตัดสินใจ และประสิทธิภาพระดับสูงของผู้ป่วยดีขึ้น โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับDHA เป็นเวลา 6 เดือนจะมีอาการที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA อย่างเห็นได้ชัด

การรับประทานน้ำมันปลา

รับประทานเป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันโรคหัวใจ วันละ 1,000 มิลลิกรัม (1 แคปซูล) หลังอาหาร

รับประทานเพื่อรักษาโรค วันละ 3 กรัม (3 แคปซูล) หรือมากกว่านั้นตามคำแนะนำของแพทย์

            การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นรากฐานสำคัญของการป้องกันและรักษา ภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด จึงควรเข้าใจถึงแนวทางในการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเพื่อควบคุมระดับคอเลสเตอร อลในเลือด และต้องมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติให้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงโรคร้ายต่างๆ ซึ่งมีภาวะโคเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด

            หลักการบริโภคอาหารที่สำคัญเพื่อป้องกันและลดระดับโคเลสเตอรอลสูงใน เลือด ประการแรกคือ รับประทานโคเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม โคเลสเตอรอลมีเฉพาะในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น และมีมากในอาหารบางชนิด เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มันสัตว์ สัตว์น้ำบางชนิด จึงควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณมาก รับประทานอาหารในแต่ละวัน ซึ่งให้พลังงานรวมแล้วเพียงพอต่อการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยผู้ใหญ่ควรมีดัชนีความหนาของร่างกายประมาณ 20-25 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว หน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง

            หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีมันติดมากๆ เช่น หมูสามชั้น เพราะกรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ควรรับประทานอาหารที่ให้กรดไขมันไลโนเลอิกโดยสม่ำเสมอ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 50 ในน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด ควรรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิกประมาณร้อยละ 7-10 ของพลังงานที่ได้รับ เช่น วันหนึ่งต้องการพลังงาน 2000 กิโลแคลอรี่ ควรได้กรดไลโนเลอิกประมาณ 16-22 กรัม ซึ่งได้จากน้ำมันถั่วเหลืองประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้

♥ วิธีแก้ปวดท้องประจำเดือน ☻

ปวดประจำเดือน












 1.รักษาน้ำหนักตัวเองให้คงที่

          การรักษาน้ำหนักของตัวเองให้คงที่ก็มีผลต่ออาการปวดประจำเดือนของคุณเช่นกัน รู้ไหมว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายคุณผู้หญิงถูกสร้างมาจากเซลล์ที่ทำหน้าที่เก็บสะสมไขมัน เพราะฉะนั้น ถ้าร่างกายของคุณมีไขมันสะสมมากเกินไป ฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะถูกสร้างเพิ่มขึ้นไปด้วย ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายไม่สมดุล ส่งผลทำให้คุณมีอาการปวดที่มดลูกได้

 2.ดื่มน้ำมาก ๆ

          ถ้าคุณดื่มน้ำมาก ๆ จะทำให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตับนี่แหละที่เป็นพระเอกของคุณ เพราะมันจะช่วยรักษาความสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนให้ ทำให้คุณไม่ปวดท้องประจำเดือนนั่นเอง

 3.หลีกเลี่ยงกาเฟอีน

          กาเฟอีน เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ที่พบได้ในกาแฟ โคล่า ชา น้ำอัดลม รวมถึงในช็อกโกแลตด้วย ดังนั้น คุณผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกนี้ โดยเฉพาะช่วงก่อนและระหว่างที่ประจำเดือนมา เพราะกาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ซึ่งมันจะทำให้อาการปวดในช่องท้องของคุณหนักหนาสาหัสมากขึ้นอีกนะ

ออกกำลังกาย 4.ออกกำลังกายซะ

          การออกกำลังกายเป็นยาวิเศษที่ช่วยรักษาได้ทุกอาการ แม้แต่การปวดประจำเดือน อ๊ะ...แต่ในที่นี้เราไม่ได้บอกให้คุณสาว ๆ ที่นอนปวดท้องอยู่ลุกขึ้นไปออกกำลังกายทันทีหรอกนะ เราหมายถึงให้คุณหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำต่างหากล่ะก่อนที่ประจำเดือนจะมาในเดือนต่อไป เพราะมันจะช่วยลดระดับความเครียดในตัวคุณ แล้วเจ้าความเครียดนี่แหละ คือสิ่งที่ทำให้อาการปวดของคุณหนักขึ้น นอกจากนั้นแล้ว การออกกำลังกายยังจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข และช่วยลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในร่างกาย ประโยชน์หลายต่อแบบนี้ ไม่ออกกำลังกายก็ไม่ได้แล้วล่ะ

 5.ใช้ความร้อนเข้าช่วย

          หากใครปวดหลังก็อาจแปะแผ่นความร้อนไว้คลายปวดบนแผ่นหลัง เช่นเดียวกับการปวดท้องประจำเดือน คุณสาว ๆ หลายคนก็เลือกใช้กระเป๋าน้ำร้อนมาวางไว้บนท้องน้อย นอนพักสักครู่ ก็จะรู้สึกได้ว่า อาการปวดนั้นเริ่มทุเลาลง เพราะความร้อนมันจะไปช่วยทำให้กล้ามเนื้อที่ตึง ๆ ผ่อนคลายลง และยังช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้ได้ด้วย หรือจะลองลุกไปอาบน้ำอุ่น ๆ ดูก็น่าจะช่วยได้ค่ะ

 6.ไฟเบอร์ก็สำคัญ

          ฮอร์โมนส่วนเกินของร่างกายนั้นสามารถขจัดได้ผ่านลำไส้ ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มาก ๆ นั้นดีต่อระบบขับถ่าย จึงช่วยให้ฮอร์โมนถูกกำจัดออกไปได้ง่ายขึ้น อย่าลืมนะว่า ฮอร์โมนส่วนเกินเหล่านี้นี่แหละที่ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล จนเป็นสาเหตุของการปวดท้องประจำเดือน

อาหารเพื่อสุขภาพ
 7.ทานผักสิ

          ผักใบสีเขียวเข้ม อย่างเช่น ผักโขม ผักปวยเล้ง เต็มไปด้วยธาตุแมกนีเซียม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า แมกนีเซียม คือ สารอาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้หญิงที่ปวดท้องประจำเดือน เพราะมันจะไปช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้อาการปวดของคุณลดน้อยลง ซึ่งนอกจากจะพบแมกนีเซียมในผักใบเขียวแล้ว ยังพบในเต้าหู้สด ถั่วอัลมอนด์ มะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง ถั่วต้ม ข้าวกล้อง ข้าวสวย ข้าวโอ๊ต กล้วย นม และโยเกิร์ต
 8.นอนขดตัว

          ฟังดูอาจเป็นเรื่องตลก แต่การนอนขดตัวท่าเดียวกับเด็กทารกในครรภ์จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องให้คุณ ผู้หญิงได้ เคยสังเกตไหมล่ะ เวลาเด็กทารกปวดท้องมักจะชันขาขึ้นมาไว้ใกล้ ๆ ท้อง นี่เป็นการตอบสนองอัตโนมัติของร่างกายที่บอกให้รู้ว่า ท่านี้แหละช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อท้อง และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้

 9.ทานสมุนไพร

          มีผลการศึกษาหลายแห่งระบุว่า สมุนไพรหลายชนิดช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ อย่างเช่น อีฟนิ่งพรีมโรส, ดอกคาร์โมไมล์, เซนต์จอห์นเวิร์ต, ตังกุย, แบล็คโคโฮส ฯลฯ การทานสมุนไพรเหล่านี้จะช่วยทำให้คุณปวดท้องประจำเดือนน้อยลงได้ แต่ต้องศึกษาผลข้างเคียงของสมุนไพรแต่ละชนิดให้ดี ก่อนซื้อหามารับประทานค่ะ
มันฝรั่งทอด 10.บอกลามันฝรั่งทอด

          ไม่ใช่แค่มันฝรั่งทอดนะจ๊ะ แต่หมายถึงอาหารทุกชนิดที่มีรสเค็ม รวมทั้งอาหารมัน ๆ ทั้งหลาย จำพวกจังก์ฟู้ดทั้งหลายนั่นแหละตัวดีเลยค่ะ เพราะปกติแล้วร่างกายจะสร้างสารพรอสตาแกลนดินส์ขึ้นมาให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบ ตัวขับเลือดประจำเดือนออกมา แต่ถ้าหากคุณทานอาหารรสเค็มจัด หรือมันจัด ร่างกายจะผลิตสารนี้ออกมามากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกถูกบีบตัวแรงขึ้น ทีนี้ อาการปวดท้องของคุณก็จะยิ่งเลวร้ายกว่าเดิมอีก

 11.นวดท้อง

          อีกหนึ่งวิธีบรรเทาอาการปวดท้องก็คือการนวดท้องนี่เอง คุณจะนวดเอง หรือจะให้หวานใจช่วยนวดให้ก็ได้ โดยให้นวดเป็นวงกลมอย่างแผ่วเบา และกดที่บริเวณท้องเล็กน้อย จะช่วยให้กล้ามเนื้อตรงบริเวณท้องผ่อนคลายลง เป็นการคลายความเจ็บปวด และความตึงเครียดที่ทำให้คุณเจ็บปวด

 12.ใช้น้ำมันหอมระเหย

          กลิ่นหอม ๆ ของน้ำมันหอมระเหย จะช่วยทำให้คุณผ่อนคลาย และมีความสุขในชั่วระยะหนึ่ง ลองหยดน้ำมันหอมระเหยลงไปในอ่างอาบน้ำ หรือจุดเทียนหอมระเหยดูสิ มันจะช่วยให้คุณลืมความเจ็บปวดไปได้