วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

มิสเตอร์บีน


มิสเตอร์ บีน เป็นตัวละครหลัก รับบทโดย โรวัน แอตคินสัน เป็นคนที่ลักษณะที่ไม่ค่อยเหมือนคนอื่น เป็นคนชอบประดิษฐ์ (แต่ไม่เข้าท่า) มีเพื่อนที่มิสเตอร์บีนรักมากที่สุดคือ เท็ดดี้ มีแฟนคือ ไอรมา ก็อบ มิสเตอร์ บีน ทำงานอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ ลอนดอน เป็นผู้รักษาความปลอดภัย (รปภ.) มิสเตอร์ บีนเป็นคนที่มีเสียงทุ้ม (อย่างเช่นพูดชื่อตัวเอง บีน) แต่ถ้าพูดติดต่อกันหลายๆ คำ จะพูดเร็ว ในตอนแรกมิสเตอร์ บีน เป็นนักเรียนที่เก่งในวิชา ตรีโกณมิติ ในภาพยนตร์เรื่อง บีน เดอะมูฟวี่ ชื่อมิสเตอร์ บีน จะเรียกใหม่ว่า ดร.บีน แทนคำว่า มิสเตอร์ บีน (ยกเว้นช่วงที่อยู่ที่ลอนดอน) แต่ในภาพยนตร์เรื่องมิสเตอร์บีน พักร้อนนี้มีฮา ในพาสปอร์ต จะเขียนชื่อมิสเตอร์ บีนว่า โรวัน

ในตอนเปิดตัวมิสเตอร์บีนตกจากท้องฟ้าจากลำแสงสีขาวเลยมีข้อสันนิษฐานว่าเป็นมนุษย์ต่างดาว แต่อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ การ์ตูนเรื่อง มิสเตอร์ บีน ซึ่งนำเค้าโครงมาจากเรื่อง มิสเตอร์ บีน มาทำเป็นการ์ตูน ได้ทำการฉายการ์ตูนมิสเตอร์ บีน ตอนหนึ่ง ซึ่งมิสเตอร์ บีน ถูกมนุษย์ต่างดาวจับตัวไป แต่เพราะเหตุใดไม่ทราบ จึงได้รับการปล่อยตัวออกมาโดยลำแสงสีขาว ซึ่งนั่นก็คืออีกหนึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมฉากเปิดตัว มิสเตอร์ บีน จึงตกลงมาจากลำแสงสีขาว

ประเพณีการรัดเท้าของสาวชาวจีน

หญิงชาวจีนสมัยก่อนเชื่อว่า การที่เท้ายิ่งเล็ก ยิ่งจุ๋มจิ๋ม ยิ่งสวย แล้วก็เป็นที่ต้องตาของชายหนุ่มในสมัยนั้นด้วย ขนาดที่เขาว่าสวยนั้น จะมีขนาดไม่เกิน 3 นิ้ว (ตีนเด็กป่าวเนี่ย) หรือที่เรียกกันว่า ดอกบัวทองคำ 3 นิ้วถ้ายาวกว่า 3 นิ้วแต่ไม่เกณฑ์ 4 นิ้วให้เรียกว่า เท้าดอกบัวเงินหากยาวกว่า 4 นิ้วก็จะถูกลดชั้นเป็น ดอกบัวเหล็กพูดง่ายๆ คือ ตีนโตๆ จะหาผัวไม่ได้ การมัดเท้าจะนิยมมัดกันในกลุ่มลูกสาวไฮโซ มีชาติตระกูล แล้วมัดกันตั้งแต่เด็กๆ ด้วยนะ สำหรับสาวๆ ตามท้องนา มัดเท้าไปคงจะไม่ได้ทำนานแน่ เพราะเดินไม่ได้ อยากรู้ว่าทำไมต้องมัด

มีตัวอย่าง ของหญิงคนนึงที่ได้ผ่านประเพณีการมัดเท้าอันแสนทรมานมาให้ชม


ที่เห็นนั่นไม่ใช่เท้าขาดนะ (แต่เหมือนเท้าขาดมาก) มันคือผลจากการมัดเท้าตั้งแต่เด็กๆ สังเกตดู กระดูกที่หลังเท้า จะโก่งขึ้น และฝ่าเท้า กับส้นเท้าพับหากัน จนเป็นร่องเหมือนเท้าขาด ส่วนที่เป็นเหมือนดินน้ำมันเส้นๆ นั้นแปะอยู่ คือนิ้วเท้าทั้ง 4 ที่ถูกพับลงมา และพิการถาวร :o เขาต้องการให้มันเป็น 3 เหลี่ยม ถึงจะใส่ร้องเท้าเล็กๆ สีแดงๆ นั้นได้ บางรายถึงขั้นเดินไม่เป็นเลยก็มี
การห้ามผู้หญิงมัดเท้า เป็นผลพวงครั้งใหญ่จากการปฏิวัติซินไฮ่ แต่อันที่จริงเมื่อศึกษาดูจากประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า การพันเท้าไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมที่ปฏิบัติต่อกันมาของสาวจีน
จากการขุดค้นพบศพหญิงสาวสมัยฮั่น ที่หม่าหวางตุย และซากศพแห้งของหญิงสาวที่ซินเกียง ล้วนเป็นซากศพที่มีเท้าใหญ่ ไม่ได้มีร่องรอยของการมัด หรือพันเท้าแต่อย่างใด
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ประเพณีการมัดเท้าแท้จริงแล้ว เริ่มมีมาแต่สมัยใด?
หลังจากสมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีนได้เกิดช่วงเวลาแห่งการแตกแยกครั้งใหญ่ขึ้นช่วงหนึ่ง ในบันทึกประวัติศาสตร์ เรียกช่วงเวลานี้ว่า "5ราชวงศ์ 10อาณาจักร"
ในช่วงเวลานั้น ราชวงศ์ถังใต้ มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า หลี่โฮ่วจู่ มีนิสัยชอบอ่านหนังสือ มีฝีมือด้านอักษรศาสตร์ และจิตรกรรม แต่กลับขาดความสามารถด้านการปกครองประเทศ
พระองค์ทรงมีพระสนมนางหนึ่ง เต้นรำอ่อนช้อยงดงาม ใช้ผ้าพันเท้า เท้านางเล็กโค้งงอดั่งพระจันทร์เสี้ยว นางสวมถุงเท้าขาว เต้นระบำอยู่บนดอกบัวที่ทำด้วยทองสูง 6 ฟุต ลอยละล่องดุจเทพธิดา
นางได้รับความรักใคร่เอ็นดูจากโฮ่วจู่เป็นอย่างมาก
คนสมัยต่อมาใช้คำ "จินเหลียน (ดอกบัวทอง)" มาบรรยายเท้าเล็กของหญิงสาว
จากนั้นเป็นต้นมา กระแสนิยมมัดเท้าภายใต้การริเร่มของนักปกครองในสมัยศักดินา ก็ได้สืบทอดต่อๆกันมา ยุคแล้วยุคเล่า นับวันกระแสความนิยมนี้ ก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น
จนกระทั่งส่วผู้มีเท้าใหญ่แทบไม่มีโอกาสได้แต่งงาน หญิงสาวชาวจีนถูกกระทำอย่างทารุณเช่นนี้นับเป็นเวลาถึงพันกว่าปี
จนกระทั่งปัจจุบัน พวกเราสามารถเห็นบรรดาหญิงสาวสูงอายุที่มีเท้าเล็ก เดินเหินด้วยความยากลำบาก ตามถนนหนทาง หรือตามตรอกซอกซอยได้โดยบังเอิญ
หญิงสาวเหล่านี้คือหลักฐานที่ยังมีชีวิตหลงเหลืออยู่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงชะตากรรมของสตรีเพศ ภายใต้การปกครองในระบอบศักดินา
"แฟชั่นรองเท้าดอกบัวทองคำ"
ชีวิตคนเมืองจีน / คนสมัยนี้คงจะจินตนาการไม่ออกแน่ว่าเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว สังคมจีนมีประเพณีที่พิลึกพิลั่นในการประเมินความงามของหญิงสาว โดยใช้ขนาดของเท้าเป็นเกณฑ์ หมายความว่าหญิงสาวที่เท้ายิ่งเล็ก ก็ยิ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นคนสวย และยิ่งเป็นที่สนใจของเพศตรงข้ามมากขึ้นเท่านั้น
ชาวจีนในยุคนี้ กล่าวกันว่า สิ่งที่สร้างความอับอายขายหน้าให้แก่ชาวจีนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 5,000 ปี นอกเหนือจากนิสัยติดฝิ่น การไว้ผมเปียของผู้ชายชาวฮั่นเพราะถูกชนชั้นปกครองชาวแมนจูบังคับแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็คือ ประเพณีการรัดเท้า เพื่อให้เท้าเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยความเขลาของผู้หญิงเองที่คลั่งไคล้ใหลหลงไปกับการตีค่าความงามบนความเจ็บปวด ที่แลกมากับด้วยเลือดและน้ำตาของตัวเอง กอปรสภาพสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ บีบบังคับให้ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อแห่งการทารุณอย่างเลือดเย็น ด้วยความยินยอมพร้อมใจจากเพศเดียวกันตลอดหลายชั่วอายุคน เบื้องหลัง รองเท้าดอกบัวทองคำ 3 นิ้วที่สวยงามนั้นคือ เรื่องราวชีวิตที่สุดแสนรันทดของผู้หญิงจีนหลายล้านคน
เท้าใหญ่ไม่มีคนเอา รัดเท้าทีก็พันปี
เหอจื้อหัว นักสะสมวัตถุโบราณที่มีชื่อเสียงของจีน หยิบรองเท้าคู่หนึ่งขนาดยังเล็กกว่าฝ่ามือขึ้นมากล่าวว่า การรัดเท้าก็คือการใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมารัดเท้าทั้งคู่ไว้จนรูปร่างเท้าตามธรรมชาติเปลี่ยนไปจนมีลักษณะเฉพาะ รองเท้าคู่หนึ่งของผู้หญิงนั้นแลกมาด้วยเลือดและน้ำตา จากการสืบค้นของนักประวัติศาสตร์ ประเพณีการรัดเท้าของผู้หญิงจีน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยจักรพรรดิหลี่อี้ว์หรือหลี่โฮ่วจู่ ในยุค 5 ราชวงศ์ หลังจากการสิ้นสุดของราชวงศ์ถัง คือระหว่าง ค.ศ. 923-936 ” ตามสมมติฐานที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย กล่าวว่า นางกำนัลคนหนึ่งของจักรพรรดิหลี่อี้ว์ ชื่อ เหย่าเหนียง ต้องการทำให้จักรพรรดิพอพระทัย จึงใช้ผ้าที่ทำจากแพรไหมสวยงามรัดที่เท้าจนเรียวเล็กราวพระจันทร์เสี้ยว ขณะที่วาดลีลาการร่ายรำต่อหน้าพระพักตร์ จักรพรรดิหลี่อี้ว์ทรงพอพระทัยการแสดงครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาเหย่าเหนียงได้สั่งให้ทำรองเท้าที่ประดับประดาด้วยไข่มุกอัญมณีนานาๆชนิดอย่างสวยงาม แล้วให้นางสนมกำนัลสวมใส่หลังจากที่รัดเท้าแล้ว ท่วงท่าที่อ่อนช้อยบนรองเท้าคู่จิ๋ว เป็นที่พอพระทัยของจักรพรรดิยิ่งนัก นับแต่นั้นมา แฟชั่นการัดเท้าในหมู่นางวังในก็เริ่มขึ้น แล้วค่อยๆขยายวงออกไปยังหมู่ลูกสาวของเหล่าขุนนางในสังคมชั้นสูง เมื่อมาถึงในสมัยหมิง ( ค.ศ. 1368 –1644 ) ความคลั่งไคล้การรัดเท้าได้แผ่กว้างไปในหมู่หญิงสาวสามัญชนทั่วประเทศ
ในสมัยจักรพรรดิคังซี ( ค.ศ. 1662-1721 ) แห่งราชวงศ์ชิง แฟชั่นการรัดเท้าดำเนินถึงจุดสูงสุด โดยเฉพาะในมณฑลซันซี เหอเป่ย ปักกิ่ง เทียนจิน ซันตง เหอหนัน ส่านซี กันซู่ แต่ชนเผ่าแมนจูไม่มีประเพณีให้ลูกสาวรัดเท้าอย่างชนชาวฮั่น ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อจักรพรรดิคังซีขึ้นครองราชบัลลังก์ได้ 3 ปี ทรงมีพระราชโองการให้เลิกประเพณีดังกล่าวเสีย โดยจะลงโทษพ่อแม่ของผู้ที่ฝ่าฝืน
อย่างไรก็ตาม ความพยายามของจักรพรรดิแมนจู ไม่ได้สร้างความหวั่นเกรงในหมู่ประชาชนเลยแม้แต่น้อยประเพณีที่ดำเนินมาหลายร้อยปี ยังคงฝังแน่นอยู่ในระบบคิดของคนในสังคมอย่างยากที่จะเปลี่ยนแปลง ในที่สุดราชสำนักก็ต้องยกเลิกกฎข้อบังคับนี้ไป หลังจากประกาศใช้ได้เพียง 4 ปี
ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เด็กสาวลูกหลานชาวแมนจูก็เริ่มฮิตรัดเท้าตามหญิงสาวชาวฮั่นบ้าง จักรพรรดดิซุ่นจื้อ ( ค.ศ. 1644-1661) ได้มีพระราชโองการ ห้ามแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดิม จนถึงสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง ( ค.ศ. 1736-1795) ก็ได้ทรงออกคำสั่งห้ามหลายครั้งไม่ให้รัดเท้า ความคลั่งไคล้ในแฟชั่นรัดเท้าจึงค่อยลดลงไปได้บ้าง แต่ก็ยังมีการลักลอบทำกันอยู่ สาวๆแมนจูที่เดิมใส่รองเท้าไม้ก็สู้อุตสาห์ออกแบบรองเท้าไม้มีส้นตรงกลาง แต่มีหน้าตาภายนอกเหมือนรองเท้าดอกบัวทองคำ สำหรับหญิงสาวชาวฮั่นแล้ว ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ พวกคลั่งไคล้แฟชั่นรัดเท้าต่างได้ใจว่า แม้แต่จักรพรรดิก็ยังไม่สามารถขัดขวางพวกตนได้ ถึงขนาดร่ำลือกันไปว่าการรัดเท้าเป็นสัญลักษณ์แห่งการไม่ยอมศิโรราบต่อผู้ปกครองแมนจูของผู้หญิงฮั่น

เพราะเหตุใดจึงต้องรัดเท้า
เพราะเท้าเล็กดุจดอกบัวทองคำ ยาวแค่ 3 นิ้ว เป็นมาตรฐานที่สังคมจีนเมื่อร้อยหลายปีมาแล้วประกาศว่า นั่นคือความสวยงามของผู้หญิง ผู้หญิงซึ่งไม่มีแม้แต่สิทธิในความเป็นมนุษย์ มีสิทธิเป็นได้แค่ ของเล่นที่คอยรองรับอารมณ์ของผู้ชาย การกดขี่ทางเพศเป็นเรื่องปกติของสังคม
และเพื่อสนองความรู้สึกกระสันของผู้ชายเมื่อได้เห็นเท้าเล็กจิ๋วที่เล็ดลอดชายกระโปรงยาวมิดชิด พร้อมกับจินตนาทางเพศอันบรรเจิดทุกครั้งที่เห็นสะโพกขยับขึ้นลงในขณะเดิน อันเป็นผลจากลักษณะของฝ่าเท้าที่ไม่เสมอกัน เช่นเดียวกับท่าเดินของผู้หญิงสมัยนี้เวลาที่ใส่รองเท้าส้นสูง หญิงสาวนับไม่ถ้วนยอมทำร้ายเท้าที่สวยงามตามธรรมชาติของตัวเอง
แม่ที่ " มองการณ์ไกล" ยอมทำร้ายลูกสาวที่ยังไม่ประสีประสาของตน เพราะกลัวว่าเมื่อโตขึ้น จะไม่มีผู้ชายมาสู่ขอหรืออาจถูกดูหมิ่นจากคนทั่วไปว่าเป็นผู้หญิงชั้นต่ำ แม้จะรู้ซึ้งดีว่าจากนี้ไปทุกคืนวันลูกสาวตัวน้อยๆต้องเจ็บปวดทรมานเหมือนถูกเข็มหลายพันเล่มทิ่มแทงอย่างที่ตนเคยผ่านมาก็ตาม

ทำไมต้องเป็น ดอกบัวทองคำ 3 นิ้ว
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า หลังจากที่พุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศจีนและเป็นที่ยอมรับนับถืออย่างแพร่หลาย กรปอกับอิทธิพลของพุทธศิลปะที่นิยมวาดรูปพระโพธิสัตว์ภาคเจ้าแม่กวนอิมยืนบนดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความดีงาม สะอาด บริสุทธิ์ มีคุณค่า และเป็นมงคล ดอกบัวจึงถูกนำมาใช้เรียกเท้าเล็กจิ๋วของหญิงสาวราวกับเป็นสิ่งดีงาม เพราะผู้หญิงที่ดีต้องอ่อนแอ ช่วยเหลือตัวเอง ต้องพึ่งพาและเชื่อฟังของพ่อ สามีหรือลูกชาย เป็นกรอบความคิดที่สังคมผู้ชายเป็นใหญ่วาง กับดักไว้
นอกจากนี้ สิ่งที่มีค่าสูงส่งมักจะได้รับการเปรียบเปรยว่ามีค่าดุจดั่งทอง ในยุคสมัยนั้น ผู้คนต่างชื่นชมยินดีกับการมีเท้าเล็กจิ๋วกับรองเท้าดอกบัวทองคำคู่จิ๋ว แม้แต่ในยามที่เสพสังวาสกัน สตรีก็ไม่ยอมถอดรองเท้าดอกบัวทองคำที่หวงแหนราวกับเป็นเครื่องประดับล้ำค่าของนาง
ในปลายสมัยชิง ทุกปีในวันที่ 6 เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติ ที่เมืองต้าถง มณฑลซันซี จะมี งานประกวดเท้าสวยโดยหญิงสาวจะแข่งกันอวดเท้าเล็กจิ๋วของตนให้คนที่เดินผ่านไปมา ชื่นชมและตัดสิน โดยดูจากขนาดของเท้าและความสวยงามของรองเท้า ที่มีลวดลายประณีตงดงาม ซึ่งเกิดจากฝีมือการเย็บปักถักร้อยของหญิงสาว แสดงให้เห็นว่าเท้าที่ถูกรัดจนพิกลพิการกับรองท้าคู่จิ๋ว ได้รับการเทิดทูนเพียงใดในสังคมศักดินายุคนั้น
ผู้หญิงสมัยนั้นบ้าคลั่งประเพณีการรัดเท้ามากถึงขั้นตั้งเกณฑ์ว่า หากเท้าผู้ใดยาวไม่เกิน 3 นิ้วจะเรียกว่าเป็น เท้าดอกบัวทองคำถ้ายาวกว่า 3 นิ้วแต่ไม่เกณฑ์ 4 นิ้วให้เรียกว่า เท้าดอกบัวเงินหากยาวกว่า 4 นิ้วก็จะถูกลดชั้นเป็น ดอกบัวเหล็ก



โจวกุ้ยเจิน แม่เฒ่าวัย 86 เจ้าของเท้าดอกบัวทองคำ ซึ่งมิเคยย่างกรายออกไปเกินกว่ากำแพงดินของหมู่บ้านหลิวอี้ว์ มณฑลหยุนหนัน (ยูนนาน) กระทั่งเมื่อเธอเริ่มเต้นรำประกอบแผ่นเสียง เธอจึงเริ่มมีโอกาสได้ออกไปยลโฉมโลกภายนอก ที่จำต้องอุดอู้อยู่ในหมู่บ้านนั้น มิใช่ว่าเธอมิอยากออกไปท่องโลกกว้าง ทว่า ความเชื่อคร่ำครึในสังคมจีนที่ ขนาดเท้าเป็นมาตรฐานตัดสินคุณค่าของผู้หญิง ยิ่งเล็กยิ่งงามทำให้แม่เฒ่าโจวถูกจับมัดเท้าแต่เด็ก จนเท้าของเธอมีรูปร่างผิดแผกจากมนุษย์ทั่วไป ด้วยมีขนาดเท่าซองบุหรี่ ส่วนกระดูกเท้านั้นเล่า ก็งองุ้มผิดธรรมชาติ
     
     
มาตรความสวยงาม ที่สังคมชายเป็นใหญ่ตั้งขึ้น เพื่อสนองตัณหาของตนนั้น กลับเป็นเครื่องพันธนาการสตรี ซึ่งถูกจองจำให้อยู่เหย้าเฝ้าเรือน ด้วยเท้าทั้งสองข้างของเธอถูกมัดตรึง จำกัดการเติบโตให้อยู่ในรองเท้าดอกบัวทองคำขนาดเล็กเพียงไม่กี่นิ้ว พอๆกับอิสรภาพของเธอที่ถูกรัดตรึงโดยสภาพสังคมที่กำหนดให้สตรีเป็นเพียงวัตถุสนองตัณหาความใคร่ของชาย
     
     
ทว่าอย่างน้อย พวกเธอก็ยังพอมีทางหาความสำราญเพียงน้อยนิดในบางโอกาส ในสมัยก่อนพวกเราฟังเพลง ที่วัยรุ่นสมัยนั้นนิยม แล้วก็เต้นรำไปตามท่วงทำนองที่ได้ยิน ซึ่งเป็นเรื่องที่สนุกมาก พวกเรามีโอกาสได้ไปแสดงที่คุนหมิง รวมทั้งได้รับเชิญไปยังปักกิ่ง และโตเกียว ถึงแม้ที่สุดแล้ว ฉันจะพลาดโอกาสงาม ด้วยมีปัญหาสุขภาพแม่เฒ่าโจวกล่าว ขณะแกว่งเท้าขนาด 5 นิ้วของเธอไปมา พร้อมกับอวดรูปเธอกับเพื่อนคณะนักแสดงทุกคน ซึ่งถูกมัดเท้าจนเรียวเล็กเช่นเดียวกับเธอ
     
     
เมื่อแม่เฒ่า กับเพื่อนนักแสดงเริ่ม เต้นรำประกอบเพลงเมื่อเกือบ 25 ปีที่แล้ว ในขณะนั้น เป็นยุคทศวรรษที่ 1980 ที่จีนเพิ่งฟื้นตัวจากกระแสปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1969-1976) ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสซ้ายจัดครอบงำจีนอย่างรุนแรง อะไรก็ตามที่เป็นตะวันตก หรือเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูงเป็นสิ่งนอกรีต และจะต้องถูกกำจัด
     
     
ในยุคที่พวกเธอเริ่มสนุกสนานกับการเต้นรำนั้น มรดกตกค้างจากการปฏิวัติฯยังคงอยู่ พวกเธอถูกมองว่าเป็นพวกนอกคอก เป็นคนแปลกในสายตาของสังคม
     
     
หยังหยัง นักเขียนวัย 43 ซึ่งเติบโตมาท่ามกลางบรรยากาศหมู่บ้านหลิวอี้ว์ รำลึกถึงช่วงเวลานั้นว่า ฉันและเพื่อนๆต้องแอบรวมกลุ่มเต้นรำตามเสียงเพลงเพราะกระแสตกค้างจากการปฏิวัติยังคงอยู่ หยังกลับมายังหมู่บ้านเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของโจว และหญิงมัดเท้ารายอื่นๆกว่า 300 ชีวิต ซึ่งหยังประทับใจเรื่องราวของพวกเธอหลังได้ยินว่า แม่เฒ่าทั้งหลายต่างแอบเต้นรำประกอบเพลง ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นสมัยหยัง
     
      “
คุณอาจจะเชื่อว่า สาวจากยุคประเพณีเก่าแก่เหล่านี้ ต้องต่อต้านการเต้นรำและเพลงสมัยใหม่ ทว่า น่าตกใจที่ พวกเธอกลับยอมรับสิ่งเหล่านี้อย่างเต็มใจ...ที่จริงบรรดาสาวๆที่ถูกพันธนาการอยู่ในกรอบจารีตประเพณี กลับเต้นได้ดีกว่าเราเสียอีกหยังกล่าว
     
     
แม่เฒ่าโจว เอื้อนเอ่ยเรื่องราวของชีวิตห้วง 3 แผ่นดินของเธอว่า ก่อนประธานเหมาสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ.1949 นั้น ชีวิตของพวกเธอแสนจะสุขสบาย ด้วยสังคมยังคงมีกระแสนิยมความงาม โดยวัดจากขนาดของเท้า ยิ่งเท้าเล็กเท่าไหร่ยิ่งหมายถึง โอกาสที่มากขึ้นเท่านั้น เท้าดอกบัวทองคำของแม่เฒ่าโจว ทำให้เธอได้มีโอกาสแต่งงานกับชายหนุ่มรูปหล่อ ฐานะดี ซึ่งชีวิตสมรสของเธอก็ดำเนินไปอย่างสุขสม แม้จะต้องแต่งงานถึง 2 ครั้ง
     
     
กระทั่งยุคปฏิวัติจีนใหม่ของพรรคค้อนเคียว ที่พิชิตชัยชนะในปี ค.ศ. 1949 นั้น ชะตาของแม่เฒ่าก็ถึงจุดพลิกผัน เมื่อบ้านของเธอถูกยึด พ่อแม่สามีคนที่ 2 ถูกทุบตีจนตาย เนื่องจาก ครองทรัพย์สินจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกับสังคมคอมมิวนิสต์ โจวถูกริบทรัพย์สิน จนเธอจำต้องยอมก้มหน้ารับชะตากรรม ทำงานหนักในคอมมูน ทั้งที่เท้าทั้งสองข้างก็มิอำนวยให้เธอใช้แรงงงาน
---------------
ตอนนี้ ยังมีธรรมเนียมรัดเท้าอยู่

ภาพเอ็กซ์เรย์