วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

jeanne d'arc

ในบรรดาสตรีที่เหลือชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์โลกนั้น คงจะไม่เป็นที่ปฏิเสธว่าชื่อของแจนน์ ดาร์คคงจะเป็นที่จดจำ ทั้งในฐานะนักบุญของศาสนาคริสต์ และในฐานะวีรสตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งเท่าที่ฝรั่งเศสเคยมีมา ชีวิตของเธอผกผันราวกับละครเรื่องยาว....จากสาวชาวบ้านไปเป็นวีรสตรี จากวีรสตรีไปเป็นแม่มด และจากแม่มดไปเป็นนักบุญ จนทุกวันนี้ เรื่องราวของแจนน์ ดาร์คก็ยังมีอิทธิพลต่อเมเดียต่างๆมากมาย ซึ่งไม่จำกัดอยู่เฉพาะในฝรั่งเศสเท่านั้น

โดยบันทึกของศาลฟื้นฟูคดีของแจนน์ ดาร์ค (ที่ถูกคือ Jehanne Darc ส่วนJeanne d'Arc เป็นคำสะกดที่เปลี่ยนแปลงในยุคหลัง) เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 1421 ที่หมู่บ้านดอมเรมี่ ในแคว้นลอร์เรน ประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรของแจ็ค ดาร์ค และอิซาเบล โรเม่
นอร์มังดี (พื้นที่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส) ในยามนั้นถูกยึดครองโดยอังกฤษ และหลังจากที่พระเจ้าชาร์ลสที่ 6 ทรงสวรรคตไปเมื่อปี 1422 บังลังค์ฝรั่งเศสก็ว่างเปล่ามาตลอด พระเจ้าชาร์ลสที่ 6 ทรงมีเจ้าชายรัชทายาทคือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส (พระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ในภายหลัง) ก็จริง แต่เนื่องจากการลงนามใน Treaty of Troyesเพื่อยุติสงครามร้อยปีและสงครามอกินคอร์ทระหว่างพระเจ้าชาร์ลสที่ 6 และพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 สิทธิ์ในบังลังค์ฝรั่งเศสจึงตกอยู่กับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 (สนธิสัญญากล่าวว่า พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 จะแต่งงานกับแคทเธอรีนซึ่งเป็นบุตรสาวของพระเจ้าชาร์ลสที่ 6 แล้วลูกของทั้งสองจะเป็นผู้สืบทอดบังลังค์ของทั้งสองประเทศ) ซึ่งทำให้สิทธิ์ในบังลังค์ถูกแย่งไปจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส และมีขุนนางฝรั่งเศสจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยต่อข้อตกลงนี้

*
สงครามในเวลาดังกล่าวถูกพูดถึงว่าเป็นสงครามระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ในความจริง เวลานั้นยังไม่มีการก่อตั้งประเทศอย่างเป็นทางการจะอย่างไรก็ดี ราชวงศ์อังกฤษในเวลาดังกล่าวก็มีต้นกำเนิดในสายมารดามาจากฝรั่งเศสเช่นกัน จึงกล่าวได้ว่าพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ก็มีสิทธิ์ในบังลังค์ฝรั่งเศสด้วย หากเกี่ยวกับข้อนี้ ขึ้นอยู่กับว่าประเทศดังกล่าวยึดหลักว่าสิทธิ์ที่ถูกถ่ายทอดไปจะมีผลต่อบุตรชายสายตรงเท่านั้น หรือจะยินยอมรับบุตรที่เกิดจากบุตรสาวซึ่งแต่งงานไปยังตระกูลอื่นด้วย แน่นอนว่าฝ่ายพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ย่อมเป็นพวกแรก
ฤดูร้อนปี 1452 แจนน์ได้ยิน"เสียง"ของเซนต์แคทรีน เซนต์ไมเคิ่ล และเซนต์มาร์กาเร็ต บอกให้เธอไปพบกับเคาทน์โรเบิร์ต เดอ บาว์ดริคอร์ท เพื่อทำการปลดปล่อยลอร์เรนและช่วยฝรั่งเศส
เดือนพฤษภาคม 1428 แจนน์เดินทางไปพบกับเคาทน์บาว์ดริคอร์ท หากก็ถูกปฏิเสธการเข้าพบ จนกระทั่งกุมภาพันธ์ปี 1429 เคาทน์บาว์ดริคอร์ทจึงยอมพบกับเธอ เขามอบเสื้อผ้าผู้ชาย ม้าและผู้ติดตาม 6 คนให้กับแจนน์และส่งเธอไปหาเจ้าฟ้าชายชาร์ลสที่จีน่อน

ไฟล์:Jeanne d'Arc à Chinon.JPG
พรมทอแขวนผนังแสดงภาพโจนออฟอาร์คเข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7
ไฟล์:Jehanne signature.jpg
                                                         หนึ่งในเอกสารหายากที่เหลืออยู่ ลายเซ็นต์ของแจนน์
                                                    เห็นได้ว่าเธอเขียน n เป็น m เนื่องจากเธออ่านเขียนไม่ได้
ในยามนั้น แคว้นลอร์เรนเป็นดินแดนของฝ่ายชาร์ลสที่ถูกล้อมโดยดินแดนของฝ่ายศัตรู แจนน์ที่เดินทางไปพบเจ้าฟ้าชายชาร์ลสจะต้องเดินทางกว่า 600 กิโลเมตรผ่านกลางกองทัพศัตรูเพื่อจะไปให้ถึงจีน่อน ซึ่งโดยความช่วยเหลือของผู้ส่งสารของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส แจนน์ผ่านอุปสรรคแรงนี้ได้ด้วยเวลาเพียง 11 วัน กล่าวกันว่า โดยปราศจากความช่วยเหลือของผู้ส่งสารดังกล่าวนี้แล้ว คงเป็นการยากที่แจนน์จะไปถึงจีน่อนได้
เจ้าฟ้าชายชาร์ลสที่รอแจนน์อยู่นั้นทรงนึกสนุกเล่นเกมขึ้นมา พระองค์แต่งตัวให้ไม่สมฐานะแล้วยืนปะปนอยู่ในหมู่คนสนิท หากแจนน์ก็หาพระองค์พบแทบในทันที่ที่เธอมาถึง ทั้งสองได้คุยกันเป็นการส่วนตัว ซึ่งกล่าวกันว่าแจนน์ได้บอกถึงความลับ* ซึ่งยืนยันสิทธิ์ในราชบังลังค์ของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสตามที่ได้ยินมาจาก"เสียง" เจ้าฟ้าชายชาร์ลสจึงเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ส่งเธอมาจริง คนของโบสถ์ซึ่ในครั้งแรกยังสงสัยในตัวแจนน์อยู่ หลังจากการตัดสินกว่า 3 วันที่พอยติเออร์ พวกเขาก็ยอมรับเธอในที่สุด
*
แจนน์ปฏิเสธที่จะบอกคนอื่นว่าความลับดังกล่าวคืออะไรกระทั่งระหว่างการพิพากษาลงโทษในภายหลัง แม้แต่ในปัจจุบัน ความลับดังกล่าวก็ยังคงเป็นความลับอยู่
เมษายน 1429 แจนน์มุ่งไปยังออร์ลีนส์ซึ่งถูกอังกฤษล้อมอยู่ โดยมีจีน เดอลีนส์, ราอีลและ กิลส์ เดอ เรยส์เป็นเพื่อนร่วมรบ แจนน์ต่อสู้กับกองทัพอังกฤษด้วยความห้าวหาญ ระหว่างการต่อสู้นี้ แจนน์ถูกยิงด้วยธนูที่ไหล่ซ้าย บาดแผลไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่เธอก็ถึงกับร้องไห้ออกมาด้วยความตระหนก กล่าวกันว่าที่เรื่องราวของแจนน์เป็นที่ประทับใจมาจนทุกวันนี้นั้น อยู่ที่เหตุผลว่าแต่เดิมเธอเป็นเพียงเด็กสาวชาวบ้านธรรมดาที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อประเทศนี่เอง แจนน์หลีกเลี่ยงที่จะฆ่าคน เธอจึงมักจะถือธงนำทัพแล้วบุกนำทหารเข้าต่อสู้พร้อมกับร้องตะโกนเพื่อปลุกขวัญกำลังใจพวกพ้อง และด้วยการที่แจนน์กระทำหน้าที่ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายด้วยตนเองนี่เองที่ทำให้ทหารสามารถต่อสู้ด้วยความกล้าหาญและปลดปล่อยออร์ลีนส์เป็นอิสระในอีก 7 เดือนให้หลัง
ไฟล์:Lenepveu, Jeanne d'Arc au siège d'Orléans.jpg
โจนออฟอาร์คในยุทธการที่ออร์เลอองส์
ไฟล์:Jeanne d'Arc - Panthéon III.jpg

โจนออฟอาร์คในพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์
แจนน์ยืนกรานว่าพิธีราชาภิเษกของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสจะต้องจัดขึ้นที่เรมส์ เนื่องจากพระเจ้าคลอวิสที่ 1 ซึ่งเป็นต้นตระกูลของราชวงศ์ฝรั่งเศสได้รับศีลล้างบาปที่เรมส์ และกษัตริย์ของฝรั่งเศสแต่ละองค์ต่างก็ประกอบพิธีที่นี่ เพื่อที่จะประกาศสิทธิ์อันถูกต้องของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส ไม่ว่าเช่นไรก็ต้องจัดพิธีขึ้นที่เรมส์ให้ได้
การจะไปยังเรมส์นั้น ต้องมีการปะทะกับกองทัพอังกฤษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สุดท้ายข้อเสนอของแจนน์ก็ได้รับการยอมรับ เจ้าฟ้าชายชาร์ลสมุ่งหน้าไปยังเรมส์ ระหว่างการเดินทางก็รับเอาหัวเมืองต่างๆที่เข้ามาสวามิภักษ์ไว้ในปกครอง และในวันที่ 17 กรกฎาคม 1429 ก็ทรงขึ้นครองราชเป็นพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 กษัตริย์โดยถูกต้องของฝรั่งเศสในที่สุด
หากในพิธีราชาภิเษก มีคนของฝ่ายเบอร์กันดีซึ่งเป็นศัตรูถูกเชิญมาด้วย ขุนนางของพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ได้เตรียมวางแผนการปกครองใหม่ไว้แล้ว มาถึงตอนนี้ กองกำลังของแจนน์ก็ค่อยๆกลายมาเป็นก้างขวางคอสำหรับฝ่ายเคาทน์อาลังซอนซึ่งยึดหลักการทหารในการปลดปล่อยฝรั่งเศสเสียแล้ว
แจนน์ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวในราชวัง เธอมีความเห็นว่าควรที่จะชิงปารีสกลับมาเพื่อเป็นฐานอันมั่นคงให้กับพระเจ้าชาร์ลส หากขุนนางส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและพอใจต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ผลทำให้แจนน์ต้องออกรบโดยไม่มีการช่วยเหลือที่เป็นรูปร่างจากกลุ่มขุนนาง

23
พฤษภาคม 1430 แจนน์ถูกจับโดยฟิลิปป์ที่ 3 ที่แคว้นเบอร์กันดีและหลังจากนั้นถูกส่งมอบตัวให้กับกองทัพอังกฤษ วันที่ 24 ธันวาคมปีเดียวกัน เธอถูกนำตัวไปคุมขังที่รูน
21
กุมภาพันธ์ 1431 การสอบสวนคนนอกรีตเริ่มขึ้นโดยมีชอง ลู เมย์ทอสเป็นประธาน หากเมย์ทอสกังขาในความเที่ยงธรรมของการสอบสวนนี้จึงแทบไม่ได้ปรากฏตัวในศาลเลย แม้แต่ในการตัดสินอย่างเป็นทางการ เขาก็ปิดปากเงียบตลอดเวลา บิชอปแชง ปิแอร์ โคชอง พร้อมกับผู้เกี่ยวข้องกับโบสถ์จำนวนกว่า 60 คนจึงเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนแทน

                                                         
รูปของแจนน์ที่เครแมน เดอ โฟแกนเบิร์ก วาดเล่นในเอกสารเมื่อปี 1429วาดโดยจับลักษณะเด่นของแจนน์ได้ดีมาก
ไฟล์:Tour Jeanne D'Arc10.jpg

ไฟล์:George William Joy joan of arc.jpg
หอคอยที่รูอองที่โจนถูกจำขังระหว่างการพิจารณาคดีที่มารู้จักกันว่าหอโจนออฟอาร์ค ระหว่างการพยายามหลบหนีครั้งหนึ่งโจนกระโดดลงมาจากหออีกหอหนึ่งที่คล้ายกัน
30 พฤษภาคม คณะสืบสวนประกาศว่าแจนน์เป็นคนนอกรีตและขับไล่เธอจากการเป็นคริสเตียน และตัดสินให้แจนน์ถูกลงโทษด้วยการเผาทั้งเป็นโดยกองทัพอังกฤษ
อย่างเคยกล่าวไว้ในเอนทรี่ของ"กิลส์ เดอ เรยส์"แล้วว่าโทษเผาทั้งเป็นนั้นเป็นการลงโทษที่จัดว่าทารุณทั้งต่อร่างกายและจิตใจเป็นที่สุดในยามนั้น นอกจากนี้ เถ้าศพของแจนน์ยังถูกโปรยลงแม่น้ำเซนเพื่อให้ร่างของเธอไม่สามารถกลับสู่ดินเพื่อวันแห่งการพิพากษาได้ นับได้ว่าโทษที่แจนน์ได้รับนั้นเป็นโทษสาหัสอย่างที่สุดสำหรับชาวคริสต์ในสมัยนั้นทีเดียว

ภาพโจนถูกสืบสวนในที่คุมขังโดยคาร์ดินัลวินเชสเตอร์

หลังการตายของแจนน์ อิซาเบล โรเม่ ผู้เป็นแม่ของเธอได้ย้ายไปอยู่ที่ออร์ลีนส์หลังจากที่สามีเสียชีวิต และใช้ชีวิตบั้นปลายทั้งหมดของตนในการยืนยันความบริสุทธิ์ของแจนน์และเพื่อให้โบสถ์ยอมรับแจนน์กลับมาเป็นคริสตศาสนิกชนอีกครั้ง ศาลยอมรับให้คำตัดสินที่รูนเป็นโมฆะในปี 1456และอีกเพียง 2 ปีหลังจากนั้น อิซาเบลก็ลาจากโลกนี้ไป
ไฟล์:Joan of arc burning at stake.jpg
โจนออฟอาร์คถูกเผาทั้งเป็น

18
เมษายน 1909 พระสันตปาปาปิโอที่ 10 ประกาศให้แจนน์ ดาร์คเป็นบุญราศี และในวันที่ 16 พฤษภาคม 1920 พระสันตปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 ก็ยกเธอขึ้นเป็นนักบุญในที่สุด
ไฟล์:Jeanne d' Arc (Eugene Thirion).jpg


 


ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่
ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ประวัติความเป็นมา

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา
ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย
เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ


เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495
เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์เพื่อปวงชนชาวไทย


ทรงเป็นนักดนตรีที่เปี่ยมด้วยพระปรีชา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรง เดี่ยวดนตรีได้หลายชนิด เริ่มจากเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ทรงสนพระราชหฤทัยเครื่องเป่าประเภทต่างๆ และต่อมาทรงเล่นได้เกือบทุกชนิด เช่น โซปราโนแซ็กโซโฟน (sopranosaxophone) อัลโตแซ็กโซโฟน(altosaxophone) เทเนอร์แซ็กโซโฟน(tenor saxophone) แบริโทนแซ็กโซโฟน(baritone saxophone) แคลริเน็ต(clarinet) และทรัมเป็ต(trumpet) นอกจากนี้ยังทรงกีตาร์และขลุ่ย และยังทรงเปียโนเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เพื่อทรงใช้ประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง

พระราชปฎิภาณในการทรงพระราชนิพนธ์เพลง

พระราชอัจฉริยภาพในทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นในสายตาของนัก ดนตรีที่เชี่ยวชาญหลายๆท่านต่างให้ความเห็นตรงกันว่ามีพระราชอัจฉริยภาพสูง ยิ่ง เพราะทรงพระราชนิพนธ์ได้โดยฉับพลันเมื่อมีแรงบันดาลพระราชหฤทัย เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ "พรปีใหม่" ซึ่งพระราชทานให้แก่พสกนิกร ในวันส่งท้ายปีเก่าระหว่าง พ.ศ. 2494-2495 พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าแซ็กโซโฟน สลับช่วงกัน โดยที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าในช่วงที่ 1 และที่ 3 ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป่าในช่วงที่ 2 และที่ 4 สลับกันจนครบเพลงจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงแต่งคำอวยพรลงในเพลงนั้น ทั้งทำนองและคำร้องเสร็จภายในครึ่งชั่วโมง

บทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่ง พระราชทานแก่ประชาชาวไทย ได้บรรเลงขาบขานกันมายาวนานถึง 50 ปี นอกจากจะมีความ "ไพเราะ" อันโดดเด่นแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยสาระและคติธรรมแห่งชีวิต ช่วยปลุกปลอบจิตใจมิให้ท้อถอยให้เห็น ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องต่อสู้ด้วยบางครั้งก็ชั่นสูงหากบางครั้งก็ลงต่ำได้ เหมือนโน้ตดนตรี เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นท่ามกลางพระราชภารกิจอันหนักหน่วงนานัปการจึงนับ เป็น "ของพระราชทาน " อันทรงคุณค่าซึ่งจะสถิตตราตรึงอยู่ในใจของประชาชนชาวไทย ชั่วนิรันดร์

เพลงพรปีใหม่

สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

                         เพลงพรปีใหม่

ชาร์ล เดอ โกล


        
 
ชาร์ล เดอ โกล
Charles de Gaulle
ประธานาธิบดีคนที่ 1
แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสคนที่ 18
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม พ.ศ. 2502 – 28 เมษายน พ.ศ. 2512
นายกรัฐมนตรีมีแชล เดอเบร (2502 - 2504)
ฌอร์ฌ ปงปีดู (2505 - 2511)
มอริส กูฟว์ เดอ มูร์วีล (2511 - 2512)
สมัยก่อนหน้าเรอเน กอตี
สมัยถัดไปอาแล็ง ปอแอร์ (รักษาการ)
ประธานคณะรัฐบาลเฉพาะกาลฝรั่งเศสคนที่ 1
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนที่ 124
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 – 20 มกราคม พ.ศ. 2489
สมัยก่อนหน้าเป็นหัวหน้ากองทัพเสรีฝรั่งเศส
ฟีลิป เปแต็ง (ประมุขแห่งรัฐ)
ปีแยร์ ลาวาล (นายกรัฐมนตรี)
สมัยถัดไปเฟลิกซ์ กวง
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนที่ 149
นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 คนที่ 22
ดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2501 – 8 มกราคม พ.ศ. 2502
ประธานาธิบดีเรอเน กอตี
สมัยก่อนหน้าปีแยร์ ฟลีมแล็ง
สมัยถัดไปมีแชล เดอเบร
หัวหน้ากองทัพเสรีฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน พ.ศ. 2483 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2487
สมัยก่อนหน้าสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
สมัยถัดไปคณะรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433
ลีล, ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 (79 ปี)
กอลงแบเลเดอเซกลีซ, ประเทศฝรั่งเศส
พรรคการเมืองUDR
คู่สมรสอีวอน เดอ โกล
อาชีพทหาร (พลเอก)
ศาสนาโรมันคาทอลิก

        

การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2501 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เป็นการเลือกตั้งเพื่อหาประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่ให้ "คณะผู้เลือกตั้ง" (สรรหาจากสมาชิกในรัฐสภา สมาชิก Conseils Généraux สมาชิกสมัชชาต่างประเทศ นายกเทศมนตรีกว่า 8 หมื่นคน รองนายกเทศมนตรี และสภาเมือง) การเลือกตั้งครั้งนี้ ชาร์ลส์ เดอ โกลล์กลายเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสโดยชนะการเลือกตั้งในรอบแรกและชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงเด็ดขาดทำให้ไม่ต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง
         ชาร์ล อ็องเดร โฌแซ็ฟ มารี เดอ โกล (ฝรั่งเศส: Charles André Joseph Marie de Gaulle) หรือ ชาร์ล เดอ โกล (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 24339 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นนายทหารและรัฐบุรุษชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเป็นที่รู้จักในนาม นายพลเดอ โกล
ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักยุทธวิธีการรบด้วยรถถัง และผู้นิยมการรบด้วยการใช้ยานเกราะและกองกำลังทางอากาศ เขาเป็นผู้นำการปลดปล่อยฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และผู้นำรัฐบาลชั่วคราวในช่วงปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ถึง พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ถูกเรียกตัวไปจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) เขาได้เป็นแรงบันดาลใจในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนแรกในยุคสาธารณรัฐที่ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ถึงปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) แนวคิดทางการเมืองของเขาเป็นที่รู้จักในนามของลัทธินิยมโกล และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองฝรั่งเศสในยุคต่อมา
        
ชาร์ล เดอ โกล เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 เป็นลูกคนที่ 3 ใน 5 ของครอบครัวโรมันคาทอลิกที่มีลักษณะอนุรักษ์-เสรีนิยมที่เมืองลีล ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศฝรั่งเศส ติดกับประเทศเบลเยียม
เขาเติบโตและได้รับการศึกษาในกรุงปารีสที่ Collège Stanislas de Paris และยังได้ศึกษาในประเทศเบลเยียมระยะหนึ่ง
เชื้อสายฝ่ายพ่อของชาร์ล เดอ โกลนั้นเป็นชนชั้นผู้ดีตระกูลสูง (อภิชนาธิปไตย) ในแถบนอร์ม็องดีและเบอร์กันดีมาเป็นเวลานาน ซึ่งได้ย้ายรกรากมาอาศัยอยู่ในกรุงปารีสเป็นเวลากว่าศตวรรษแล้ว ส่วนเชื้อสายทางฝ่ายแม่ของเขานั้น เป็นผู้บริหารกิจการอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยแห่งเมืองลีลในบริเวณฟลานเดอส์ฝรั่งเศส
คำว่า เดอ (de) (ซึ่งแปลว่า แห่ง หรือ ณ) ในคำว่า เดอ โกล (de Gaulle) นั้นไม่ได้เป็นนามสกุลขุนนางแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่บรรพบุรุษของครอบครัว เดอ โกล นั้น เป็นขุนนางหรืออัศวินซึ่งสูงด้วยยศและตำแหน่ง ซึ่งบรรพบุรุษคนแรก ๆ ของตระกูล เดอ โกล นั้นมียศเป็นผู้ติดตามอัศวิน (Écuyer) ในสมัยพระเจ้าฟิลิปที่ 2 ช่วงศตวรรษที่ 12 เป็นที่เชื่อกันว่า คำว่า เดอ โกล นั้นได้มีวิวัฒนาการมาจากคำว่า De Walle ซึ่งแปลว่า กำแพงเมืองหรือป้อมปราการ ในภาษาเยอรมัน เนื่องจากขุนนางฝรั่งเศสในสมัยก่อนนั้น สืบเชื้อสายมาจากพวกแฟรงก์และนอร์มังเยอรมัน ซึ่งก็ทำให้ได้รับอิทธิพลในการใช้ชื่อเยอรมัน และเป็นที่สังเกตว่า คำว่า เดอ โกล (de Gaulle) นั้นจะขึ้นต้นด้วย d ตัวเล็กเสมอ
ปู่ของชาร์ล เดอ โกลนั้นเป็นนักประวัติศาสตร์ ส่วนย่าเป็นนักเขียน พ่อของเขา อ็องรี เดอ โกล เป็นครูในโรงเรียนคาทอลิกเอกชน ซึ่งเขาได้ตั้งโรงเรียนขึ้นมาเอง การโต้วาทีเรื่องการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ครอบครัวเขาทำเป็นประจำ เมื่อตอนเขาเด็ก ๆ พ่อของเขาก็ได้แนะนำนักเขียนผู้ซึ่งเป็นพวกอนุรักษนิยมอยู่เป็นประจำ ครอบครัวเขาเป็นครอบครัวที่มีความเป็นชาตินิยม เขาเติบโตมาด้วยความศรัทธาที่มีต่อชาติของตนเอง
ครอบครัวเขาเป็นพวกจารีตนิยม อนุรักษนิยมและยังสนับสนุนการปกครองในระบอบราชาธิบไตย แต่ถึงกระนั้นครอบครัวเขาก็ได้ยึดถือกฎหมายและเคารพสาธารณรัฐเป็นอย่างดี มุมมองทางการเมืองของพวกเขายังออกไปแนวเสรีนิยมอีกด้วย