วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ถ้าพูดถึง Paul Frank ♥



ถ้าพูดถึง Paul Frank ก็คงจะนึกถึง เจ้าลิงหน้ากวนๆ ตัวนี้ใครรู้บ้างว่ามันมีชื่อว่าอะไร  ลิงกวนตัวโปรดของเรามีชื่อว่า Julius.. ?


ขอเล่าความเป็นมาก่อน จิงๆ แล้ว Paul Frank เป็นชื่อของ นักเรียนศิลปะคนนึงจาก Orange County, CA  ซึ่งพยายามที่จะทำโปรเจค โดยการเย็บต่อชิ้นส่วนต่างๆ ลงบนเสื้อ sweaters ซึ่งวันหนึ่งเขาเลือกที่จะใช้ ไวนิลสีส้ม เพื่อทำ wallet หลังจากนั้นเค้าก็ทำ item ต่างๆ ออกมามากมาย  หลายปีต่อมา Paul Frank Industries ก็ได้ก่อตั้งขึ้น  โดยเพื่อนคนนึงให้ยืมเงิน $5000 เพื่อจดลิขสิทธ์ ในปัจจุบัน Paul Frank ก็เป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมของคนทั้งใน และ ต่างประเทศ :)


                                           I LOVE PAUL FRANK  

☺ เลขโรมัน และวิธีการอ่าน ☺

                                                                                       เลขโรมัน

การอ่านเลขโรมันไม่ใช่เรื่องยาก  ถ้าจำเลขโรมันตัวหลักได้และรู้ว่าเลขตัวนั้นมีค่าเท่าไร เลขโรมันที่ใช้เขียนมีอยู่ ๗ ตัว คือ I = ๑,  V = ๕, X = ๑๐, L =  ๕๐,  C =  ๑๐๐,  D =  ๕๐๐,  M  = ๑,๐๐๐
หลักสำคัญในการอ่านเลขโรมันมีดังนี้
๑. เมื่อเขียนเลขตัวใดเรียงซ้ำ ๆ  กัน  ค่าของเลขจำนวนนั้นคือ  การเอาค่าของเลขแต่ละตัวบวกเข้าด้วยกัน เช่น X เท่ากับ ๑๐ ดังนั้น  XXX  จึงเท่ากับ ๓๐
๒. เมื่อเขียนเลขตัวใดไว้ทางด้านซ้ายมือของเลขตัวที่มีค่ามากกว่าค่าของเลขตัวนั้นก็คือ  เอาเลขตัวที่มีค่าน้อยกว่าลบออกจากตัวเลขที่มีค่ามากกว่า เช่น X เท่ากับ ๑๐, L เท่ากับ ๕๐ ดังนั้น XL จึงเท่ากับ ๔๐
๓. เมื่อเขียนเลขตัวใดหรือเลขจำนวนใดไว้ทางด้านขวามือของเลขตัวที่มีค่าเท่ากันหรือมีค่ามากกว่า  ค่าของเลขจำนวนนั้นก็คือ  ค่าของเลขตัวนั้นบวกกับตัวเลขที่มีค่ามากกว่า เช่น  M เท่ากับ ๑,๐๐๐ Cเท่ากับ ๑๐๐  MCC  จึงเท่ากับ ๑,๒๐๐
๔.  เมื่อเลขตัวใดมีเครื่องหมายขีดตามยาวอยู่ด้วยบนเลขตัวนั้นจะมีค่าเท่ากับคูณด้วย ๑,๐๐๐ เช่น  XV เท่ากับ ๑๐,๐๐๕ XCLIV เท่ากับ ๑๐,๑๕๔  M  เท่ากับ ๑,๐๐๐,๐๐๐
ดูตัวอย่างที่ยกมานี้จะเข้าใจมากขึ้น
I  =  ๑
II = ๒
III = ๓
IV = ๔
V = ๕
VI = ๖
VII = ๗
VIII = ๘
IX = ๙
X = ๑๐
XI = ๑๑
XII = ๑๒
XIII = ๑๓
XIV = ๑๔
XV = ๑๕
XVI = ๑๖
XVII = ๑๗
XVIII = ๑๘
XIX  =  ๑๙
XX =  ๒๐
XXX =  ๓๐
XL =  ๔๐
L = ๕๐
LX = ๖๐
LXX = ๗๐
LXXX = ๘๐
XC = ๙๐
C = ๑๐๐
CC = ๒๐๐
CCC = ๓๐๐
CD = ๔๐๐
D = ๕๐๐
DC = ๖๐๐
DCC = ๗๐๐
DCCC = ๘๐๐
CM = ๙๐๐
M = ๑,๐๐๐
MM = ๒,๐๐๐

“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”  

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

-Y2K- ?

       ปัญหาปี ค.ศ.2000 คือ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์และ เครื่องมือทุกชนิดที่มีส่วนการควบคุมการทำงานที่เรียกว่า Microprocesser การ ทำงานต่าง ๆ มีการคำนวณ เกี่ยวกับวันที่และเวลาในตัวของ Microprocesser ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นส่วนนี้เราเรียกว่า RTC (Real Time Clock) หากอุปกรณ์ใดที่ไม่มี การใช้วันที่และเวลา ก็จะมีผลกระทบน้อยหรืออาจไม่มีผลกระทบจากปัญหาปี ค.ศ .2000 เลย
       เมื่อเราใช้วันที่และเวลาในการคำนวณหาค่าต่าง ๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินฝาก การ ประกันภัย หากมีการคำนวณผิดพลาดขึ้นมาก็จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และขาดความเชื่อถือจากลูกค้าธนาคาร การดำเนินการทางธุรกิจก็จะขาดความ เชื่อมั่นซึ่งมีผลเสียที่รุนแรงต่อระบบธุรกิจ
      อย่างไรก็ดี ปัญหาปี 2000 เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความเชื่อถือของระบบ และหาก ปัญหานั้นเกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ยิ่งต้องสร้างความน่าเชื่อถือแบบ ร้อยเปอร์เซนต์ จึงทำให้การดำเนินการแก้ปัญหาปี 2000 เป็นเรื่องยากขึ้น เพราะ ต้องสร้างความเชื่อถือทุกระดับ
       โดยดั้งเดิมนั้นมีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมทั้งโปรแกรมระบบและโปรแกรมใช้งาน หลายระบบมีโครงสร้างการเก็บ จำนวนปีเพียง 2 หลักท้าย เช่น 89 แทน 1989 ทั้งนี้อาจเป็นเพื่อ ประหยัดเนื้อที่เก็บข้อมูลหรือประหยัดเวลาในการกรอก ข้อมูล และในบางครั้งก็อาจเป็นผล เนื่องมาจากความคิดไม่ถึง ดังนั้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 1999 ผ่านพ้นไป ข้อมูลที่กำหนดหรือ ป้อนเข้าไปใหม่ด้วย คศ.เพียง 2 หลัก คือ 00 ซึ่งควรหมายถึง คศ.2000 นั้นอาจถูกคอมพิวเตอร์ ตี ความว่าเป็นปีคศ.1900 ได้ ดังนั้น หากมีการประมวลผลบางประการ เช่น คิดอายุของบุคคล ผู้ที่ เกิดเมื่อ 1 มกราคม 1975 จะมีอายุจากการคำนวณ (วันเดือนปีปัจจุบัน ลบด้วย วันเดือนปีเกิด) ให้ ผลเป็น -75 ปี (อีก 75 ปีจึงจะเกิด)
      หากเป็นโปรแกรมที่มีการตรวจสอบข้อมูลผิดพลาดอาจรายงานว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือบางโปรแกรมที่ไม่ได้ ตรวจ สอบก็จะแสดงอายุ -75 ปีออกมา การคิดสวัสดิการ เงินตอบแทน จากการทำงานก็ดี การคิดดอกเบี้ยเงินกู้หรือ เงินฝากก็ดี ก็อาจเกิดความผิดพลาดได้ทั้งสิ้น สาเหตุ ของการเกิดปัญหามีได้หลายประการ เช่น เกิดจากโครงสร้างฮาร์ดแวร์ โปรแกรมระบบเช่น Operating System โปรแกรมใช้งานต่างๆ โครงสร้างฐานข้อมูล ฯล
         ในด้านฮาร์ดแวร์ ปัญหาสำคัญอยู่ที่วงจรและโครงสร้างการเก็บข้อมูลวันที่ที่ถูกสร้างขึ้น อัตโนมัติ ในระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ควบคุม จะมีวงจรสร้างวันที่และเวลา ซึ่งจะเดินอยู่ ตลอดเวลาสร้างวันที่และเวลาอัตโนมัติ เพื่อให้โปรแกรมใช้งานได้ใช้อ่านเพื่อนำไปประมวลผล หากวงจรดังกล่าวสร้างโครงสร้างของปีคศ.เพียง 2 หลัก ก็จะทำให้ วันที่ที่โปรแกรมจะได้รับนั้น เป็นสองหลักด้วย ปัญหาจากฮาร์ดแวร์เช่นนี้ จะส่งผลทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือหรือ อุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องอ่านบัตรลงเวลา เครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่มีการบันทึกวันเวลาที่โทรเข้า -ออกเครื่องมือ หรือเครื่องควบคุมที่ต้องทำการซ่อมบำรุงหรือปรับแต่งเป็นระยะ อาจมีสัญญาณ เตือนเมื่อเกิดเงื่อนไขเวลาผิดปกติไป ปัญหาที่เกิดจากโปรแกรมระบบเช่น Operating System (OS.) เนื่องมาจากโปรแกรม Operating System (ตัวอย่าง เช่น MS.-DOS , Windows , Novell Netware , UNIX ฯลฯ) เป็นโปรแกรมตัวกลางระหว่าง โปรแกรมใช้งานกับกลไกด้านฮาร์ดแวร์ นั้น ส่วนหนึ่งได้แก่เรื่องของการดึงข้อมูลเวลา ซึ่งโปรแกรมต่างๆ เมื่อต้องการเวลาจะไม่ได้อ่าน จากวงจรฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ โดยตรง แต่จะอ่านผ่านโปรแกรม OS. โปรแกรม OS. ยังเป็น ส่วนที่จัดการกับการเก็บข้อมูลระบบไฟล์ด้วย
              ซึ่งเมื่อมีการบันทึกข้อมูลลงไฟล์ หรือแก้ไขไฟล์ข้อมูล OS.จะบันทึกเวลาที่ไฟล์ถูกบัน ทึกใหม่หรือแก้ไขล่าสุด ด้วย อีกประการหนึ่งคือOS. บางระบบ โดยเฉพาะสำหรับ เครื่องที่ บริการผู้ใช้หลายคน ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเวลาใช้งานของผู้ใช้ ในบางระบบจะคำนวณ เวลาที่ผู้ ใช้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อคิดค่าเช่าเวลาประมวลผล ดังนั้นหาก OS. เหล่านี้มีได้เตรียมโครง สร้างของข้อมูลเกี่ยวกับ วันที่ และวิธีการประมวลผล ให้สามารถรองรับปี คศ.จำนวน 2 หลัก แล้ว ก็จะเป็นตัวต้นเหตุก่อให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน
                    โปรแกรมสำหรับใช้งาน หรือที่เรียกว่า Application โปรแกรมที่ใช้ตามวัตถุประสงค์ ต่างๆ นั้นก็เป็นต้นเหตุที่สำคัญ โปรแกรมใช้งานปัจจุบันมีทั้งโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีวัตถุ ประสงค์ใช้งานได้กว้างๆ เช่นโปรแกรมพิมพ์งาน หรือ Word Processor โปรแกรมคำนวณ Spread Sheet ฯลฯ โปรแกรมสำเร็จที่ใช้เฉพาะงานเช่น โปรแกรมบัญชี โปรแกรมระบบการผลิต โปรแกรมควบคุมคลังสินค้า ฯลฯ โปรแกรมที่สร้างเฉพาะกับหน่วยงานต่างๆ โปรแกรมในทุก ประเภทมักหนี ไม่พ้นที ่ต้องมีการใช้ข้อมูลวันที่ ทั้งในการเก็บข้อมูล การคำนวณข้อมูลซึ่งข้อมูล ที่ใช้ก็อาจเป็นข้อมูลที่ ป้อนเข้าโดยผู้ใช้โปรแกรมหรืออาจเป็นข้อมูลวันที่ที่สร้างขึ้นจากวงจร คอมพิวเตอร์ บางโปรแกรมอาจเขียนขึ้นจากภาษาที่ มีการกำหนดรูปแบบข้อมูลได้เองเช่นใน ภาษาโคบอลที่ใช้กันมากในงานธุรกิจ ข้อมูลวันที่เป็นข้อมูลที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องกำหนด จำนวนหลักเอง หรือบางครั้งบางโปรแกรมอาจตั้งโครงสร้างการเก็บข้อมูลวันที่เป็นการเก็บคศ .เต็ม 4 หลัก แต่ในการรับเข้าข้อมูลอาจกำหนด ช่องให้ป้อน คศ. เพียง 2 หลักโปรแกรมจะเติม 19 นำหน้าเอง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้จะได้ป้อนตัวเลขน้อยๆ เช่นโปรแกรมที่สร้างจาก FoxPro ผู้เขียนโปรแกรมมักกำหนด Option Century Off คือไม่ต้องรับและแสดงหลักคศ. 2 หลัก หน้า
                    ดังนั้นข้อผิดพลาดในโปรแกรม Application โดยสรุปอาจเกิดจาก การกำหนดโครง สร้างข้อมูล การสร้างส่วนป้อนเข้าข้อมูลแสดงผล หรือแม้แต่ส่วนการรับถ่ายทอดข้อ มูลกับโปรแกรมอื่นๆ วิธีการคำนวณหรือการประมวลผลที่เกี่ยวกับวันที่และช่วงเวลา และยัง ขึ้นกับ โปรแกรมบริหารฐานข้อมูลอีกด้วย โปรแกรมมากมายในปัจจุบันสร้างให้เป็นโปรแกรมที่ ใช้ระบบฐานข้อมูล Database system ซึ่งโปรแกรมใช้งานจะทำหน้าที่เพียงส่วนของการ ประมวลผล แต่การเก็บข้อมูลในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล เช่นดิสก์ เป็นหน้าที่การจัดการของ โปรแกรมบริหารฐานข้อมูล (Database Management System-DBMS.)
               ดังนั้นโปรแกรมบริหารฐานข้อมูลและโครงสร้างฐานข้อมูลก็ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่อาจก่อ ให้เกิดปัญหาด้านวันที่ปี 2000ได้เช่นกันและโดยเฉพาะ ในระบบฐานข้อมูลก็มักจะมีข้อมูลวันที่ ที่ระบบฐานข้อมูลนั้นจัดเตรียมให้โดยเฉพาะ ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า มีการส่งสัญญาณเตือน ให้มีการตระหนักมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง เกี่ยวกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากปี 2000 ในปัจจุบัน จึงมีแหล่งข้อมูลความรู้ให้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวอยู่มาก และมีการจัดประชุมสัมมนา เกี่ยวกับวิกฤติปัญหานี้ เช่นกัน
                        

วิธีเตรียมการแก้ปัญหา
1. การวางแผนและกระตุ้นความสนใจ (พ.ศ .2538-2539) ท ให้ความรู้กับประชาคม โดยได้มีการสร้าง โฮมเพ็จและเอกสาร บนเครือข่ายนนทรีในเรื่อง ปัญหา ปี 2000 เพื่อให้ความรู้และกระตุ้นให้เกิด ความสนใจ ท ให้ข้อมูลและความรู้ ซึ่งได้มีการจัดทำเอกสาร เผยแพร่ สิ่งพิมพ์ โดยร่วมไปกับเอกสารเผยแพร่ ต่าง ๆ ของ มหาวิทยาลัยในหน่วยงานต่าง ๆ ท การสร้างความสนใจในหมู่ผู้บริหาร มีการเผย แพร่และให้ความรู้ใน ระดับผู้บริหาร ท การสร้างแผนการดำเนินการ มีการกำหนดแผน การดำเนินการโดยมี สำนักบริการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดำเนินการหลัก
                2. สำรวจปัญหา (2540-2541) ทำการสำรวจปัญหา ต่าง ๆ ในเรื่องอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หลักของมหาวิทยาลัย และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ที่กระจายอยู่ในมหาวิทยาลัย รวมทั้ง สำรวจปัญหาเกี่ยวกับระบบงานและระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งในการนี้สำนักบริการ คอมพิวเตอร์ได้ ออกแบบสำรวจเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ และระบบงาน ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2541 เพื่อจะได้กำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาต่อไป
                3. กำหนดโครงงานแก้ปัญหา ปี 2000 (2541) มหาวิทยาลัยได้กำหนดโครงการ ในการ แก้ปัญหาปี ค.ศ.2000 อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีโครงงาน ที่ดำเนินการประกอบด้วย ท โครงการแก้ปัญหาระบบข้อมูลบริหารของ มหาวิทยาลัย ท โครงการระบบมาตรฐานการเชื่อมโยงระบบงาน ลงทะเบียนเรียนแบบออนไลน์ ท โครงการแก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์หลักของ มหาวิทยาลัยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ท โครงการสัมมนาวิธีการแก้ปัญหา Y2K ท โครงการแก้ปัญหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยว ข้องกับ Y2K
                4. การทดสอบระบบ (พ.ศ.2542) มหาวิทยาลัย ได้เตรียมการให้ปี ค.ศ.1999 เป็นปีของ การทดสอบระบบงาน ซึ่งการทดสอบระบบงานนี้จะ เน้นกับงานทุกระบบที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย เน้นการ ทดสอบอุปกรณ์และแก้ไขปัญหาในการเชื่อมโยง
                5. มาตรการฉุกเฉินในปี พ.ศ.2543 การดำเนินการ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2000 อาจจะมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด มหาวิทยาลัยได้เตรียมแผนการฉุกเฉินไว้ดังนี้ ท เตรียมการแก้ไขฉุกเฉินทางเทคนิค ท เตรียมการสนับสนุนเทคนิคหน่วยงานต่าง ๆ ใน มหาวิทยาลัย