วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ม.5 อ่านด่วน!! เลื่อนสอบ GAT PAT ปี 57 เร็วขึ้นอีก 3 เดือน

วัสดีค่ะ ก่อนจะสิ้นสุดปี 2555 พี่แป้ง ก็มีข่าวเด็ดร้อน ๆ มาส่งให้น้อง ๆ ก่อนที่จะไปเที่ยวปีใหม่กันนะคะ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบขอบอกเลยว่าคือน้อง ม.5 แบบเต็ม ๆ เลยล่ะค่ะ เพราะว่าตอนนี้ที่ประชุม ทปอ. ได้มีมติออกมาแล้วว่าจะมีการ "เลื่อนสอบ" GAT PAT ครั้งที่ 1/2557 และ 2/2557 เร็วขึ้นอีก 3 เดือน รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูรายละเอียดกันเลยค่ะ

>> เลื่อนกำหนดการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2557

       ตามรายงานข่าว ศ.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)ได้แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเลื่อนกำหนดการสอบ GAT/PAT ดังนีั
GAT/PAT ครั้งที่ 1/2557เป็น 7-10 ธ.ค.56จากเดิม 1-4 มี.ค.57เร็วขึ้น 3 เดือน
GAT/PAT ครั้งที่ 2/2557เป็น 8-11 มี.ค.57จากเดิม 10-13 พ.ค.57เร็วขึ้น 2 เดือน


        โดยการสอบตามกำหนดการเดิมอาจจะกระทบกับบางมหาวิทยาลัยที่นำผล GAT/PAT ครั้งที่ 1 ไปเป็นผลการสอบตรง โดยการสอบตรงที่เกิดขึ้นจะอยู่ในช่วงเดือนมกราคม 2557

        นอกจากนี้แล้วทางนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาการ (รมว.ศธ.) กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ทปอ.ต้องอำนวยความสะดวกเรื่องการจัดการศึกษา การสอบอะไรที่ซ้ำซ้อนกันหลายอย่างก็อยากให้ยกเลิก โดยเฉพาะการสอบรับตรงหลายแห่ง เพื่อลดการวิ่งรอกการสอบของนักเรียน


>> การผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของประเทศ

        นอกจากเรื่องการเลื่อนสอบ GAT PAT ปี 57 ให้เร็วขึ้นมาอีก 3 เดือนแล้วนั้น รมว.ศธ.ได้มีคำสั่งถึง ทปอ.เพื่อแก้ปัญหาสอบรับตรงซ้ำซ้อนแล้วนั้น ยังเสนอให้มีการผลิตบัณฑิตตรงความต้องการของประเทศ เน้นสาขาที่ขาดแคลน เพราะบัณฑิตทุกสาขาล้วนมีต้นทุน ค่าจ้างบุคลากร หากผลิตแต่สาขาไม่จำเป็นจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ

        รมว.ศธ.กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ได้ไปให้นโยบายการศึกษากับที่ประชุม ทปอ.ราชภัฏ โดยได้ฝากให้อธิการบดีราชภัฏทั้ง 40 แห่ง ดูแลเรื่องการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต และการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ โดยเฉพาะสาขาด้านวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยขาดแคลนมาก แต่ในขณะที่บางสาขาผลิตบัณฑิตออกมาล้นกว่าตำแหน่งงานที่จะรองรับได้ ทำให้เด็กจบมาก็ไม่มีงานทำ โดยเฉพาะผู้ที่จบสาขาศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ เวลานี้มีจำนวนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อธิการบดีราชภัฏได้เสนอว่าอยากให้มีการประกาศจำนวนตัวเลขความต้องการบัณฑิตที่จบสาขาดังกล่าวที่ชัดเจน ว่าในแต่ละปีต้องการเท่าไร เพื่อที่จะได้ผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการ

       จะว่าเป็นข่าวดีก็ไม่ใช่ ข่าวร้ายก็ไม่เชิง ก็ถือว่าเป็นข่าวดีแล้วกันนะคะ เพราะอย่างน้อยก็ได้รู้ก่อนว่าจะมีการเลื่อนให้เร็วขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กม.6 ปีหน้า (ม.5 ปีนี้) ก็คือ ช่วงปลายดี 56-ต้นปี 57 ได้วิ่งรอกสอบกันมึนไปข้างนึงเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นรู้ข่าวอย่างนี้แล้วก็รีบเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อความปลอดภัยในการสอบค่ะ
        รู้ข่าวนี้แล้ว อย่าลืมแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้รู้ด้วยนะคะ

-ขอบคุณ www.dek-d.com

เด็กมัธยมควรดู...5 วิธีเอาเกรด 4 มาครอบครอง

 ส่วนตอนนี้เปิดเทอมแล้วน้องๆ ก็คงรับรู้เกรดเทอม 1 กันเป็นที่เรียบร้อย แต่เอาล่ะ ไม่ว่าผลสอบจะเป็นยังไง ก็อย่าไปซีเรียสนะคะ มันผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป เทอมสองยังมี เริ่มต้นใหม่ตอนนี้ก็ยังไม่สาย แต่ถ้าใครได้เลขสวยวิ๊งๆ พี่มิ้นท์ก็ยินดีด้วยจ้า ซึ่งช่วงต้นเทอมแบบนี้แหละฤกษ์ดี จะชวนน้องๆ มาวางแผนพิชิตเกรด 4 กัน เคล็ดลับเหล่านี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่นะคะ^^
  
     
วิธีที่ 1 วิชาไหนได้เกรดง่ายต้องเก็บให้เรียบ
             วิชาที่ว่า ขอยกตัวอย่างเช่น วิชาพละ นาฏศิลป์ คอมพิวเตอร์ ภาษาไทย วิชาเหล่านี้หลายคนให้ความเห็นว่าเป็นวิชาที่ได้เกรดมาไม่ยาก โดยเฉพาะวิชาพละ ขอแค่เข้าให้ครบและเล่นกีฬาให้อาจารย์เห็น แค่นี้ก็ได้เกือบ 100 คะแนนเต็มกันทุกคนแล้ว ส่วนพวกวิชาศิลปะ นาฏศิลป์ อาจจะต้องเพิ่มทักษะส่วนตัวขึ้นมาหน่อย แต่ก็ได้เกรดมาไม่ยากอยู่ดีค่ะ ยกเว้นว่าอาจารย์คนนั้นจะโหดม๊ากกก เช่น ต้องตั้งวงให้ได้องศาเป๊ะ นิ้วต้องดัดลงมาให้แตะข้อมือให้ได้ หรือต้องวาดรูปให้ได้เหมือนแวนโก๊ะ!!
              มันเป็นโอกาสที่ดีทีเดียว ที่เราจะใช้ช่องทางเก็บเกรดวิชาง่ายๆ เพื่อเพิ่มเกรดของเรา ลองคิดดูว่าถ้าเกรดวิชาอื่นตกต่ำหมด แต่ได้เกรด 4 วิชาพวกนี้ทุกวิชา... เป็นพระเอกขี่ม้าขาวดีๆ นี่เอง

     
 วิธีที่ 2 ส่งงานให้ครบวิชาที่ได้เกรดยาก
               เมื่อคะแนนสอบพึ่งไม่ได้ ก็ลองหันมาพึ่งคะแนนเก็บดูบ้าง มีจำนวนไม่น้อยนะคะที่คิดว่า วิชานี้ได้เกรดยากงั้นปล่อยมันไปเถอะ วิชาเดียวช่างมัน!! น้องคะ..ถ้าคิดแบบนี้ตลอดไปแล้วเมื่อไหร่เกรดเราจะดีขึ้นล่ะคะ แล้วถ้าเทอมนั้นดันมีวิชาเกรดโหด 5 วิชา เกรดออกมาคงแพ้เด็กอนุบาลแน่ๆ ค่ะ เพราะฉะนั้นตรงไหนที่เราได้คะแนนไม่ดี ก็ต้องหาหนทางอื่นเข้ามาช่วย

                
โดยปกติในระดับมัธยม สัดส่วนคะแนนเก็บต่อคะแนนสอบปลายภาคจะเป็น 70-30 หรือ 80-20 เห็นตัวเลขนี้ น้องๆ ก็คงมองเห็นแล้วว่าคะแนนเก็บทั้งเทอมมันเยอะกว่าคะแนนปลายภาค 2-3 เท่า ถ้าเราทำคะแนนเก็บดี เกรด 2-3 ก็รอเราอยู่แค่เอื้อม ทำปลายภาคอีกนิดหน่อยเกรด 4 ก็ได้ไม่ยาก คะแนนเก็บส่วนใหญ่จะมาจากรายงาน การบ้าน ส่วนตัวพี่มิ้นท์มองว่าคะแนนการบ้าน อาจารย์จะแค่เช็คว่าเราทำครบ ส่งครบมั้ย เรื่องถูกผิดจะให้ความสำคัญรองลงมา อย่างวิชาเคมี ฟิสิกส์ ถ้ามีการทดลองในห้องแล้วให้ส่งบันทึกผลการทดลอง ก็ควรจะส่งให้ครบตามกำหนดเวลา อย่าลืมนะ ส่งให้ครบและทัน ชีวิตจะดีขึ้นเอง

วิธีที่ 3 ใส่ใจเรื่องหน่วยกิต
                  หน่วยกิต คือ ตัวเลขที่แสดงค่าน้ำหนักของวิชานั้นๆ เช่น วิชาภาษาไทยมี 2 หน่วยกิต คณิตมี 2 หน่วยกิต ซึ่งจะเรียนจบได้ก็ต้องได้หน่วยกิตให้ครบ หากใครเคยลองสังเกตดูก็จะรู้ว่าคาบเรียนกับจำนวนหน่วยกิตจะคล้องกันอยู่ คือ ถ้าหน่วยกิตยิ่งเยอะก็จะมีจำนวนชั่วโมงเยอะ เช่น มี 2 หน่วย ก็จะเรียน 4 คาบ/สัปดาห์ แต่ถ้า 1 หน่วย ก็จะเรียน 2 คาบ/สัปดาห์ และหน่วยกิตก็เป็นตัวแปรสำคัญต่อการคิดเกรดของน้องๆ ด้วยค่ะ
                 พูดง่ายๆ คือ ยิ่งหน่วยกิตเยอะ ก็ยิ่งมีผลต่อเกรดรวมของน้องๆ เช่น หน่วยกิตหนักๆ อย่าง 2 หรือ 2.5 ถ้าได้เกรดดี เกรดรวมของน้องๆ ก็จะอลังการไปเลย แต่ถ้าได้ต่ำก็ฉุดให้เกรดรวมต่ำลงไปด้วย เมื่อรู้แบบนี้แล้ว หลังจากนี้ขอให้น้องๆ หันมาใส่ใจหน่วยกิตให้มากๆ วิชาไหนที่ค่าน้ำหนักหน่วยกิตสูง ก็ขอให้ตั้งใจเรียนและพยายามให้ได้เกรด 4 มาครองไว้ดีที่สุด
                  ก่อนจบเรื่องนี้ พี่มิ้นท์ จะมาสอนวิธีคิดเกรดกัน ง่ายๆ คือ
 เอาหน่วยกิตที่ได้คูณกับค่าน้ำหนักหน่วยกิตในแต่ละวิชา แล้วหารด้วยหน่วยกิตทั้งหมด สมมติว่า(สมมตินะคะสมมติ)
                           ภาษาไทย ( 2 หน่วยกิต) ได้เกรด 4 = 2 x 4 =8
                           คณิตหลัก ( 2 หน่วยกิต) ได้เกรด 2 = 2 x 2 = 4
                           คณิตเสริม ( 1 หน่วยกิต) ได้เกรด 2 = 1 x 2 = 2
                           สุขศึกษา ( 1 หน่วยกิต) ได้เกรด 4 = 1 x 4 = 4
                           ภาษาอังกฤษ ( 2 หน่วยกิต) ได้เกรด 3 = 2 x 3 = 6
                           วิทยาศาสตร์ ( 1.5 หน่วยกิต) ได้เกรด 4 = 1.5 x 4 = 6
                  
รวม เรียนทั้งหมด 9.5 หน่วยกิต  ผลคะแนนที่คูณหน่วยกิตได้ทั้งหมด 30 ดังนั้นเกรดของน้องๆ เทอมนี้ จะได้เท่ากับ 30/9.5 = 3.15

                   จากตัวอย่างจะเห็นว่า วิชาที่หน่วยกิตหนักสุดคือ ไทย คณิตหลักและ วิทยาศาสตร์ คราวนี้พี่มิ้นท์จะลองแทนค่าดูว่าได้ 3 วิชานี้ได้ 4 หมด อะไรจะเกิดขึ้นกับเกรดของน้องๆ บ้าง
                            ภาษาไทย ( 2 หน่วยกิต) ได้เกรด 4 = 2 x 4 =8
                            คณิตหลัก ( 2 หน่วยกิต) ได้เกรด 4 = 2 x 4 = 8
                            คณิตเสริม ( 1 หน่วยกิต) ได้เกรด 2 = 1 x 2 = 2
                            สุขศึกษา ( 1 หน่วยกิต) ได้เกรด 4 = 1 x 4 = 4
                            ภาษาอังกฤษ ( 2 หน่วยกิต) ได้เกรด 4 = 2 x 4 = 8
                            วิทยาศาสตร์ ( 1.5 หน่วยกิต) ได้เกรด 4 = 1.5 x 4 = 6
                    
รวม เรียนทั้งหมด 9.5 หน่วยกิต  ผลคะแนนที่คูณหน่วยกิตได้ทั้งหมด 36 ดังนั้นเกรดของน้องๆ เทอมนี้ จะได้เท่ากับ 36/9.5 = 3.78 เลยทีเดียวค่ะ  เห็นความสำคัญเรื่องหน่วยกิตเพิ่มขึ้นบ้างรึยังคะ :D

         วิธีที่ 4 งานกลุ่มดี ดีทั้งกลุ่ม ถ้าล่ม ก็ล่มทั้งกลุ่ม
               หลายๆ วิชาจะมีงานกลุ่ม ซึ่งประโยชน์ของงานกลุ่มที่เห็นได้ชัดๆ เลย คือ คะแนนจะสูงกว่างานที่ทำคนเดียว แต่โทษของมันคือ อาจจะเจอปัญหาเรื่อง "คน" มากกว่า "งาน" เช่น ไม่ค่อยช่วยงานบ้าง หรือทำงานไม่เต็มที่บ้าง ดังนั้นต่อไปนี้ ถ้ามีงานกลุ่ม ขอให้น้องๆ เห็นความสำคัญของงานกลุ่มมากขึ้น อย่าคิดแค่ว่าถ้าเราไม่ทำ คนอื่นก็ทำ หรือ คะแนนงานไม่ดี แต่เพื่อนพรีเซ้นเก่ง เดี๋ยวก็ได้คะแนนดีเอง
               อย่าให้ความคิดพวกนี้มาทำให้น้องๆ ประมาททีเดียวเชียว งานกลุ่มมันก็เหมือนสัญญาชีวิตอะไรบางอย่าง คะแนนดีก็ดีทั้งกลุ่ม แต่ถ้าคะแนนห่วยก็ห่วยทั้งกลุ่ม ลองให้ความสำคัญกับมันเยอะๆ ตั้งใจทำให้เต็มที่ เพราะมาตรฐานของงานกลุ่ม อาจารย์ตั้งเป้าให้สูงกว่างานเดี่ยวอยู่แล้ว หากงานสำเร็จก็ยังได้ความภูมิใจเป็นรางวัลด้วยนะ


 วิธีที่ 5 ทำตัวดีๆ จิตพิสัยล้นปรี่
             ทำตัวดีๆ ในที่นี้ก็ควรทำทั้งต่อหน้าและลับหลัง หลักสูตรเมืองไทยค่อนข้างให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของเด็ก ถึงได้มีคะแนนจิตพิสัยเข้ามาช่วย ถึงแม้จะมีแค่ 10 คะแนน แต่ก็เปลี่ยนเกรดได้ถึง 2 เกรดเชียวนะคะ ลำพังถ้า 10 คะแนนนี้เป็นคะแนนสอบ ต้องอ่านหนังสือกี่วันถึงจะได้ 10 คะแนนเต็ม แต่ในอีกมุมนึง แต่เราทำตัวดี ตอบคำถามในห้องเรียน ส่งการบ้านครบ แต่งตัวเรียบร้อย น้องๆ แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไร ก็ได้ 10 คะแนนมาง่ายมากๆ
               
5 ข้อที่ผ่านมา พี่มิ้นท์ว่าวิธีนี้ทำได้ง่ายที่สุด เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยให้ลอยนวลค่ะ

การใช้ Thank, Thanks และ Thank You อย่างถูกหลัก (ภาษาอังกฤษ)

Thank, Thanks, or Thank You
S. = subject | V. = verb | D.O. = direct object
1. Thank - ขอบคุณ (verb)
ตัวอย่าง: S. + Thank(s) + D.O./name 
            I thank her. [ฉันขอบคุณเธอ]
            I thank Mary. [ฉันขอบคุณแมรี่]
            She thanks me. [เธอขอบคุณฉัน]
            She thanked me. [เธอขอบคุณฉันไปแล้ว]
*Direct obj. ใช้เพื่อบอกว่าคนที่ขอบคุณคือใคร เช่น. me, you, him, her, it, us, them 

ใน simple present tense:
        I, you, we, they "thank"
        He, she, it "thanks"
ใน simple past tense:
        I, you, we, they, he, she, it "thanked"

เมื่อต้องการขยายความ ว่าขอบคุณสำหรับเรื่องอะไร ให้ใช้ "for"
ตัวอย่าง: S. + Thank(s) + D.O./name + for + noun
            I thank her for the help. 
            [ฉันขอบคุณเธอสำหรับความช่วยเหลือ]
ตัวอย่าง: S. + Thank(s) + D.O./name + for + -ing form
            I thank her for helping.
            [ฉันขอบคุณเธอที่ช่วยเหลือ] 

ช่วยเหลือใคร? ช่วยเหลือฉัน หรือคนอื่น? ถ้าต้องการขยายประโยคต่อให้เติม D.O. หรือ ชื่อของคนที่ได้รับการช่วยเหลือ
S. + Thank(s) + D.O./name + for + -ing form + D.O
            I thank her for helping me.
            [ฉันขอบคุณเธอที่ช่วยเหลือฉัน] 
            I thank her for helping Mary.
            [ฉันขอบคุณเธอที่ช่วยเหลือแมรี่] 

การใช้ Thank แบบที่ผิด
ตัวอย่าง: add (แอด/เพิ่มเพื่อน)
            Thank for add.                  <for + V. | ผิด>
            Thanks for the add.          <for + noun | ถูกต้อง>
            Thank you for adding me. <for + -ing | ถูกต้อง>
*เมื่อไม่มี subject ต้องใช้คำว่า thanks หรือ thank you เท่านั้น
*add เป็นคำนาม ฉะนั้นต้องเติม "the" นำหน้า เพราะเป็นกรณีที่เจาะจง
*add สามารถเป็นได้ทั้ง noun และ verb
*มีแค่ noun หรือ -ing form เท่านั้นที่สามารถตามหลัง "for" ได้

ตัวอย่าง: accept (รับแอด/รับเป็นเพื่อน)
            Thanks for accept me          <for + V. | ผิด>
            Thanks for the acceptance. <for+noun | ถูกต้อง>
            Thank you for accepting me. <for+-ing | ถูกต้อง>
*acceptance เป็นคำนามของคำกริยา accept
*D.O. เช่น. "me" สามารถต่อท้าย -ing form ได้้เท่านั้น
*ประโยคที่ 2 ไม่ค่อยมีใครใช้สักเท่าไหร่
*thanks (ไม่เป็นทางการ) | thank you (เป็นทางการ)

*thx เป็นศัพท์แสลง ที่ย่อมาจาก thanks 

ชุดนักเรียนไทยอยู่ตรงไหน?



จากภาพ หากเราแบ่งประเภทการบังคับใช้เครื่องแบบออกเป็น[1]:
สีเขียว = เครื่องแบบนักเรียนไม่เป็นที่นิยมหรือบังคับใช้ในโรงเรียนรัฐ
สีเหลือง = มีการบังคับใช้เครื่องแบบในโรงเรียนรัฐหรือโรงเรียนทั่วไปในระดับการศึกษาพื้นฐาน (เช่น ประถม – มัธยมศึกษา)
สีแดง = มีการบังคับใช้เครื่องแบบจนถึงระดับมหาวิทยาลัย
เราพบว่า ประเทศไทยเป็นเพียงหนึ่งในสี่ประเทศในโลกที่มีการบังคับใช้เครื่องแบบนักศึกษา (ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม) นอกจากนี้หลายประเทศที่มีการบังคับใช้เครื่องแบบนักเรียนเป็นเพราะผลพลอยได้ของการเคยเป็นประเทศอาณานิคม (เช่น อินเดีย ฮ่องกง ประเทศแถบอาฟริกา ประเทศแถบแคริบเบียน)
ทั้งนี้ เหตุผลในการบังคับใช้เครื่องแบบนักเรียนอาจมีหลายประการ เช่น เป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นนักเรียนระดับชั้นใด มาจากโรงเรียนใด สร้างความเป็นเอกภาพในนักเรียนโรงเรียนเดียวกันโดยการลดหลั่นความเหลื่อมล้ำทางสังคมซึ่งอาจจะเกิดจากการเครื่องแต่งกาย ลดความฟุ่มเฟือยและสิ่งเร้าในทางแฟชั่นซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสมาธิในการเรียน สั่งสมวินัยซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในสังคมในอนาคต และนอกจากนี้การบังคับใช้เครื่องแบบอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมที่ทำสืบเนื่องกันมา
ในบางประเทศนั้น เครื่องแบบอาจเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการศึกษาเบื้องต้น เช่น ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งสังคมผู้ใหญ่นั้นเต็มไปด้วยความเคร่งเครียดทั้งทางวินัยและกฏระเบียบของสังคม การสั่งสมเยาวชนให้พร้อมต่อการเป็นส่วนหนึ่งของวินัยในสังคมนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่จำเป็น ในบางประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมมาก เช่น อินเดีย เครื่องแบบอาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการลดความแตกต่างระหว่างชนชั้นในโรงเรียน ในขณะที่บางประเทศการบ่งบอกถึงสถานภาพการเป็นนักเรียนอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อความปลอดภัยในตัวนักเรียนเอง
ในทางกลับกัน กลับมีอีกหลายประเทศที่ไม่มีการบังคับใช้เครื่องแบบนักเรียน ประเทศฝรั่งเศสไม่มีการใช้เครื่องแบบในโรงเรียนเนื่องจากความเชื่อในอิสรเสรีภาพของปวงชนเหนือสิ่งอื่นใด ประเทศอิตาลีและเยอรมนียังคงมองเรื่องของเครื่องแบบเป็นเรื่องที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ทางการทหารที่โหดร้ายของประเทศ และนอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่เคยมีการบังคับใช้เครื่องแบบ แต่ยกเลิกการใช้เครื่องแบบไปในภายหลัง
อาจกล่าวได้ว่า ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการเลือกใช้เครื่องแบบนักเรียนหรือไม่เป็นเรื่องของการเรียงลำดับความสำคัญระหว่างความเป็นปัจเจกบุคคลกับความเป็นเอกภาพในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม เป็นที่เห็นได้ชัดว่าประเทศส่วนมากในโลกไม่มีการบังคับใช้เครื่องแบบในระดับอุดมศึกษา แม้กระทั่งในประเทศญี่ปุ่นเองที่การใช้เครื่องแบบแทบจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในทุกระดับของสังคม อาจเป็นเพราะสังคมเหล่านี้ให้ความสำคัญต่อความเป็นเอกเทศและอิสระเสรีภาพมากกว่าวินัยและความเป็นเอกภาพในระดับอุดมศึกษาก็เป็นได้
เครื่องแบบนักเรียนไม่เป็นที่นิยมหรือบังคับใช้ในโรงเรียนรัฐมีการบังคับใช้เครื่องแบบในระดับประถม-มัธยมมีการบังคับใช้เครื่องแบบจนถึงระดับมหาวิทยาลัย
Canada
Denmark
France
Germany
Italy
Russia
Spain
United States
Argentina
Australia
Brazil
Burma
Burundi
Chile
China
Cuba
Dominican Republic
Ghana
Hong Kong
India
Indonesia
Israel
Jamaica
Japan
Lesotho
Malaysia
Mauritius
New Zealand
Nigeria
Pakistan
Philippines
Singapore
South Africa
South Korea
Sri Lanka
Taiwan
Tonga
Turkey
United Arab Emirates
United Kingdom
Venezuela
Cambodia
Laos
Thailand
Vi