หญิงชาวจีนสมัยก่อนเชื่อว่า การที่เท้ายิ่งเล็ก
ยิ่งจุ๋มจิ๋ม ยิ่งสวย แล้วก็เป็นที่ต้องตาของชายหนุ่มในสมัยนั้นด้วย
ขนาดที่เขาว่าสวยนั้น จะมีขนาดไม่เกิน 3
นิ้ว (ตีนเด็กป่าวเนี่ย)
หรือที่เรียกกันว่า “ดอกบัวทองคำ 3 นิ้ว” ถ้ายาวกว่า 3
นิ้วแต่ไม่เกณฑ์ 4 นิ้วให้เรียกว่า “เท้าดอกบัวเงิน”
หากยาวกว่า 4 นิ้วก็จะถูกลดชั้นเป็น “ดอกบัวเหล็ก” พูดง่ายๆ คือ ตีนโตๆ จะหาผัวไม่ได้ การมัดเท้าจะนิยมมัดกันในกลุ่มลูกสาวไฮโซ
มีชาติตระกูล แล้วมัดกันตั้งแต่เด็กๆ ด้วยนะ สำหรับสาวๆ ตามท้องนา มัดเท้าไปคงจะไม่ได้ทำนานแน่
เพราะเดินไม่ได้ อยากรู้ว่าทำไมต้องมัด
มีตัวอย่าง ของหญิงคนนึงที่ได้ผ่านประเพณีการมัดเท้าอันแสนทรมานมาให้ชม
ที่เห็นนั่นไม่ใช่เท้าขาดนะ
(แต่เหมือนเท้าขาดมาก) มันคือผลจากการมัดเท้าตั้งแต่เด็กๆ
สังเกตดู กระดูกที่หลังเท้า จะโก่งขึ้น และฝ่าเท้า กับส้นเท้าพับหากัน
จนเป็นร่องเหมือนเท้าขาด ส่วนที่เป็นเหมือนดินน้ำมันเส้นๆ นั้นแปะอยู่
คือนิ้วเท้าทั้ง 4
ที่ถูกพับลงมา
และพิการถาวร :o เขาต้องการให้มันเป็น 3 เหลี่ยม ถึงจะใส่ร้องเท้าเล็กๆ สีแดงๆ นั้นได้
บางรายถึงขั้นเดินไม่เป็นเลยก็มี
การห้ามผู้หญิงมัดเท้า เป็นผลพวงครั้งใหญ่จากการปฏิวัติซินไฮ่
แต่อันที่จริงเมื่อศึกษาดูจากประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า การพันเท้าไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมที่ปฏิบัติต่อกันมาของสาวจีน
จากการขุดค้นพบศพหญิงสาวสมัยฮั่น
ที่หม่าหวางตุย และซากศพแห้งของหญิงสาวที่ซินเกียง ล้วนเป็นซากศพที่มีเท้าใหญ่
ไม่ได้มีร่องรอยของการมัด หรือพันเท้าแต่อย่างใด
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ประเพณีการมัดเท้าแท้จริงแล้ว
เริ่มมีมาแต่สมัยใด?
หลังจากสมัยราชวงศ์ถัง
ประเทศจีนได้เกิดช่วงเวลาแห่งการแตกแยกครั้งใหญ่ขึ้นช่วงหนึ่ง
ในบันทึกประวัติศาสตร์ เรียกช่วงเวลานี้ว่า "5ราชวงศ์
10อาณาจักร"
ในช่วงเวลานั้น
ราชวงศ์ถังใต้ มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า หลี่โฮ่วจู่
มีนิสัยชอบอ่านหนังสือ มีฝีมือด้านอักษรศาสตร์ และจิตรกรรม แต่กลับขาดความสามารถด้านการปกครองประเทศ
พระองค์ทรงมีพระสนมนางหนึ่ง
เต้นรำอ่อนช้อยงดงาม ใช้ผ้าพันเท้า เท้านางเล็กโค้งงอดั่งพระจันทร์เสี้ยว นางสวมถุงเท้าขาว
เต้นระบำอยู่บนดอกบัวที่ทำด้วยทองสูง 6
ฟุต ลอยละล่องดุจเทพธิดา
นางได้รับความรักใคร่เอ็นดูจากโฮ่วจู่เป็นอย่างมาก
คนสมัยต่อมาใช้คำ
"จินเหลียน (ดอกบัวทอง)" มาบรรยายเท้าเล็กของหญิงสาว
จากนั้นเป็นต้นมา
กระแสนิยมมัดเท้าภายใต้การริเร่มของนักปกครองในสมัยศักดินา
ก็ได้สืบทอดต่อๆกันมา ยุคแล้วยุคเล่า นับวันกระแสความนิยมนี้
ก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น
จนกระทั่งส่วผู้มีเท้าใหญ่แทบไม่มีโอกาสได้แต่งงาน
หญิงสาวชาวจีนถูกกระทำอย่างทารุณเช่นนี้นับเป็นเวลาถึงพันกว่าปี
จนกระทั่งปัจจุบัน
พวกเราสามารถเห็นบรรดาหญิงสาวสูงอายุที่มีเท้าเล็ก
เดินเหินด้วยความยากลำบาก ตามถนนหนทาง หรือตามตรอกซอกซอยได้โดยบังเอิญ
หญิงสาวเหล่านี้คือหลักฐานที่ยังมีชีวิตหลงเหลืออยู่
เพื่อแสดงให้เห็นถึงชะตากรรมของสตรีเพศ ภายใต้การปกครองในระบอบศักดินา
"แฟชั่นรองเท้าดอกบัวทองคำ"
ชีวิตคนเมืองจีน / คนสมัยนี้คงจะจินตนาการไม่ออกแน่ว่าเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว สังคมจีนมีประเพณีที่พิลึกพิลั่นในการประเมินความงามของหญิงสาว
โดยใช้ขนาดของเท้าเป็นเกณฑ์ หมายความว่าหญิงสาวที่เท้ายิ่งเล็ก
ก็ยิ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นคนสวย และยิ่งเป็นที่สนใจของเพศตรงข้ามมากขึ้นเท่านั้น
ชาวจีนในยุคนี้
กล่าวกันว่า สิ่งที่สร้างความอับอายขายหน้าให้แก่ชาวจีนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า
5,000 ปี นอกเหนือจากนิสัยติดฝิ่น การไว้ผมเปียของผู้ชายชาวฮั่นเพราะถูกชนชั้นปกครองชาวแมนจูบังคับแล้ว
อีกอย่างหนึ่งก็คือ ประเพณีการรัดเท้า เพื่อให้เท้าเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้
ด้วยความเขลาของผู้หญิงเองที่คลั่งไคล้ใหลหลงไปกับการตีค่าความงามบนความเจ็บปวด
ที่แลกมากับด้วยเลือดและน้ำตาของตัวเอง กอปรสภาพสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่
บีบบังคับให้ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อแห่งการทารุณอย่างเลือดเย็น
ด้วยความยินยอมพร้อมใจจากเพศเดียวกันตลอดหลายชั่วอายุคน เบื้องหลัง ‘รองเท้าดอกบัวทองคำ 3 นิ้ว’ ที่สวยงามนั้นคือ เรื่องราวชีวิตที่สุดแสนรันทดของผู้หญิงจีนหลายล้านคน
เท้าใหญ่ไม่มีคนเอา รัดเท้าทีก็พันปี
เหอจื้อหัว
นักสะสมวัตถุโบราณที่มีชื่อเสียงของจีน หยิบรองเท้าคู่หนึ่งขนาดยังเล็กกว่าฝ่ามือขึ้นมากล่าวว่า
“การรัดเท้าก็คือการใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมารัดเท้าทั้งคู่ไว้จนรูปร่างเท้าตามธรรมชาติเปลี่ยนไปจนมีลักษณะเฉพาะ
รองเท้าคู่หนึ่งของผู้หญิงนั้นแลกมาด้วยเลือดและน้ำตา จากการสืบค้นของนักประวัติศาสตร์ ประเพณีการรัดเท้าของผู้หญิงจีน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยจักรพรรดิหลี่อี้ว์หรือหลี่โฮ่วจู่
ในยุค 5 ราชวงศ์ หลังจากการสิ้นสุดของราชวงศ์ถัง
คือระหว่าง ค.ศ. 923-936
” ตามสมมติฐานที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย
กล่าวว่า นางกำนัลคนหนึ่งของจักรพรรดิหลี่อี้ว์ ชื่อ เหย่าเหนียง
ต้องการทำให้จักรพรรดิพอพระทัย จึงใช้ผ้าที่ทำจากแพรไหมสวยงามรัดที่เท้าจนเรียวเล็กราวพระจันทร์เสี้ยว
ขณะที่วาดลีลาการร่ายรำต่อหน้าพระพักตร์ จักรพรรดิหลี่อี้ว์ทรงพอพระทัยการแสดงครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง
ต่อมาเหย่าเหนียงได้สั่งให้ทำรองเท้าที่ประดับประดาด้วยไข่มุกอัญมณีนานาๆชนิดอย่างสวยงาม
แล้วให้นางสนมกำนัลสวมใส่หลังจากที่รัดเท้าแล้ว
ท่วงท่าที่อ่อนช้อยบนรองเท้าคู่จิ๋ว เป็นที่พอพระทัยของจักรพรรดิยิ่งนัก
นับแต่นั้นมา แฟชั่นการัดเท้าในหมู่นางวังในก็เริ่มขึ้น
แล้วค่อยๆขยายวงออกไปยังหมู่ลูกสาวของเหล่าขุนนางในสังคมชั้นสูง
เมื่อมาถึงในสมัยหมิง ( ค.ศ. 1368
–1644 ) ความคลั่งไคล้การรัดเท้าได้แผ่กว้างไปในหมู่หญิงสาวสามัญชนทั่วประเทศ
ในสมัยจักรพรรดิคังซี
( ค.ศ. 1662-1721 ) แห่งราชวงศ์ชิง แฟชั่นการรัดเท้าดำเนินถึงจุดสูงสุด
โดยเฉพาะในมณฑลซันซี เหอเป่ย ปักกิ่ง เทียนจิน ซันตง เหอหนัน ส่านซี กันซู่
แต่ชนเผ่าแมนจูไม่มีประเพณีให้ลูกสาวรัดเท้าอย่างชนชาวฮั่น
ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อจักรพรรดิคังซีขึ้นครองราชบัลลังก์ได้ 3 ปี ทรงมีพระราชโองการให้เลิกประเพณีดังกล่าวเสีย
โดยจะลงโทษพ่อแม่ของผู้ที่ฝ่าฝืน
อย่างไรก็ตาม
ความพยายามของจักรพรรดิแมนจู
ไม่ได้สร้างความหวั่นเกรงในหมู่ประชาชนเลยแม้แต่น้อยประเพณีที่ดำเนินมาหลายร้อยปี
ยังคงฝังแน่นอยู่ในระบบคิดของคนในสังคมอย่างยากที่จะเปลี่ยนแปลง
ในที่สุดราชสำนักก็ต้องยกเลิกกฎข้อบังคับนี้ไป หลังจากประกาศใช้ได้เพียง 4 ปี
ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ
เด็กสาวลูกหลานชาวแมนจูก็เริ่มฮิตรัดเท้าตามหญิงสาวชาวฮั่นบ้าง
จักรพรรดดิซุ่นจื้อ ( ค.ศ. 1644-1661)
ได้มีพระราชโองการ ‘ห้าม’
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดิม
จนถึงสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง ( ค.ศ. 1736-1795) ก็ได้ทรงออกคำสั่งห้ามหลายครั้งไม่ให้รัดเท้า ความคลั่งไคล้ในแฟชั่นรัดเท้าจึงค่อยลดลงไปได้บ้าง
แต่ก็ยังมีการลักลอบทำกันอยู่
สาวๆแมนจูที่เดิมใส่รองเท้าไม้ก็สู้อุตสาห์ออกแบบรองเท้าไม้มีส้นตรงกลาง
แต่มีหน้าตาภายนอกเหมือนรองเท้าดอกบัวทองคำ สำหรับหญิงสาวชาวฮั่นแล้ว
ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ พวกคลั่งไคล้แฟชั่นรัดเท้าต่างได้ใจว่า
แม้แต่จักรพรรดิก็ยังไม่สามารถขัดขวางพวกตนได้ ถึงขนาดร่ำลือกันไปว่าการรัดเท้าเป็นสัญลักษณ์แห่งการไม่ยอมศิโรราบต่อผู้ปกครองแมนจูของผู้หญิงฮั่น
เพราะเหตุใดจึงต้องรัดเท้า
เพราะเท้าเล็กดุจดอกบัวทองคำ
ยาวแค่ 3 นิ้ว เป็นมาตรฐานที่สังคมจีนเมื่อร้อยหลายปีมาแล้วประกาศว่า
นั่นคือความสวยงามของผู้หญิง ผู้หญิงซึ่งไม่มีแม้แต่สิทธิในความเป็นมนุษย์
มีสิทธิเป็นได้แค่ ‘ของเล่น’ ที่คอยรองรับอารมณ์ของผู้ชาย การกดขี่ทางเพศเป็นเรื่องปกติของสังคม
และเพื่อสนองความรู้สึกกระสันของผู้ชายเมื่อได้เห็นเท้าเล็กจิ๋วที่เล็ดลอดชายกระโปรงยาวมิดชิด
พร้อมกับจินตนาทางเพศอันบรรเจิดทุกครั้งที่เห็นสะโพกขยับขึ้นลงในขณะเดิน
อันเป็นผลจากลักษณะของฝ่าเท้าที่ไม่เสมอกัน เช่นเดียวกับท่าเดินของผู้หญิงสมัยนี้เวลาที่ใส่รองเท้าส้นสูง
หญิงสาวนับไม่ถ้วนยอมทำร้ายเท้าที่สวยงามตามธรรมชาติของตัวเอง
แม่ที่ "
มองการณ์ไกล" ยอมทำร้ายลูกสาวที่ยังไม่ประสีประสาของตน
เพราะกลัวว่าเมื่อโตขึ้น
จะไม่มีผู้ชายมาสู่ขอหรืออาจถูกดูหมิ่นจากคนทั่วไปว่าเป็นผู้หญิงชั้นต่ำ
แม้จะรู้ซึ้งดีว่าจากนี้ไปทุกคืนวันลูกสาวตัวน้อยๆต้องเจ็บปวดทรมานเหมือนถูกเข็มหลายพันเล่มทิ่มแทงอย่างที่ตนเคยผ่านมาก็ตาม
ทำไมต้องเป็น “ ดอกบัวทองคำ 3
นิ้ว”
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า
หลังจากที่พุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศจีนและเป็นที่ยอมรับนับถืออย่างแพร่หลาย
กรปอกับอิทธิพลของพุทธศิลปะที่นิยมวาดรูปพระโพธิสัตว์ภาคเจ้าแม่กวนอิมยืนบนดอกบัว
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความดีงาม สะอาด บริสุทธิ์ มีคุณค่า และเป็นมงคล ‘ ดอกบัว’
จึงถูกนำมาใช้เรียกเท้าเล็กจิ๋วของหญิงสาวราวกับเป็นสิ่งดีงาม
เพราะผู้หญิงที่ดีต้องอ่อนแอ ช่วยเหลือตัวเอง ต้องพึ่งพาและเชื่อฟังของพ่อ
สามีหรือลูกชาย เป็นกรอบความคิดที่สังคมผู้ชายเป็นใหญ่วาง ‘กับดัก’ไว้
นอกจากนี้
สิ่งที่มีค่าสูงส่งมักจะได้รับการเปรียบเปรยว่ามีค่าดุจดั่งทอง
ในยุคสมัยนั้น ผู้คนต่างชื่นชมยินดีกับการมีเท้าเล็กจิ๋วกับรองเท้าดอกบัวทองคำคู่จิ๋ว
แม้แต่ในยามที่เสพสังวาสกัน
สตรีก็ไม่ยอมถอดรองเท้าดอกบัวทองคำที่หวงแหนราวกับเป็นเครื่องประดับล้ำค่าของนาง
ในปลายสมัยชิง
ทุกปีในวันที่ 6 เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติ
ที่เมืองต้าถง มณฑลซันซี จะมี “งานประกวดเท้าสวย” โดยหญิงสาวจะแข่งกันอวดเท้าเล็กจิ๋วของตนให้คนที่เดินผ่านไปมา
‘ชื่นชม’
และตัดสิน โดยดูจากขนาดของเท้าและความสวยงามของรองเท้า
ที่มีลวดลายประณีตงดงาม ซึ่งเกิดจากฝีมือการเย็บปักถักร้อยของหญิงสาว
แสดงให้เห็นว่าเท้าที่ถูกรัดจนพิกลพิการกับรองท้าคู่จิ๋ว ได้รับการเทิดทูนเพียงใดในสังคมศักดินายุคนั้น
ผู้หญิงสมัยนั้นบ้าคลั่งประเพณีการรัดเท้ามากถึงขั้นตั้งเกณฑ์ว่า
หากเท้าผู้ใดยาวไม่เกิน 3
นิ้วจะเรียกว่าเป็น ‘เท้าดอกบัวทองคำ’ ถ้ายาวกว่า 3
นิ้วแต่ไม่เกณฑ์ 4 นิ้วให้เรียกว่า ‘เท้าดอกบัวเงิน’
หากยาวกว่า 4 นิ้วก็จะถูกลดชั้นเป็น ‘ ดอกบัวเหล็ก’
โจวกุ้ยเจิน
แม่เฒ่าวัย 86 เจ้าของเท้าดอกบัวทองคำ
ซึ่งมิเคยย่างกรายออกไปเกินกว่ากำแพงดินของหมู่บ้านหลิวอี้ว์ มณฑลหยุนหนัน
(ยูนนาน) กระทั่งเมื่อเธอเริ่มเต้นรำประกอบแผ่นเสียง เธอจึงเริ่มมีโอกาสได้ออกไปยลโฉมโลกภายนอก
ที่จำต้องอุดอู้อยู่ในหมู่บ้านนั้น มิใช่ว่าเธอมิอยากออกไปท่องโลกกว้าง ทว่า
ความเชื่อคร่ำครึในสังคมจีนที่ “ขนาดเท้าเป็นมาตรฐานตัดสินคุณค่าของผู้หญิง
ยิ่งเล็กยิ่งงาม” ทำให้แม่เฒ่าโจวถูกจับมัดเท้าแต่เด็ก
จนเท้าของเธอมีรูปร่างผิดแผกจากมนุษย์ทั่วไป ด้วยมีขนาดเท่าซองบุหรี่
ส่วนกระดูกเท้านั้นเล่า ก็งองุ้มผิดธรรมชาติ
มาตรความสวยงาม
ที่สังคมชายเป็นใหญ่ตั้งขึ้น เพื่อสนองตัณหาของตนนั้น
กลับเป็นเครื่องพันธนาการสตรี ซึ่งถูกจองจำให้อยู่เหย้าเฝ้าเรือน ด้วยเท้าทั้งสองข้างของเธอถูกมัดตรึง
จำกัดการเติบโตให้อยู่ในรองเท้าดอกบัวทองคำขนาดเล็กเพียงไม่กี่นิ้ว
พอๆกับอิสรภาพของเธอที่ถูกรัดตรึงโดยสภาพสังคมที่กำหนดให้สตรีเป็นเพียงวัตถุสนองตัณหาความใคร่ของชาย
ทว่าอย่างน้อย
พวกเธอก็ยังพอมีทางหาความสำราญเพียงน้อยนิดในบางโอกาส “ในสมัยก่อนพวกเราฟังเพลง ที่วัยรุ่นสมัยนั้นนิยม
แล้วก็เต้นรำไปตามท่วงทำนองที่ได้ยิน ซึ่งเป็นเรื่องที่สนุกมาก
พวกเรามีโอกาสได้ไปแสดงที่คุนหมิง รวมทั้งได้รับเชิญไปยังปักกิ่ง และโตเกียว
ถึงแม้ที่สุดแล้ว ฉันจะพลาดโอกาสงาม ด้วยมีปัญหาสุขภาพ” แม่เฒ่าโจวกล่าว ขณะแกว่งเท้าขนาด 5 นิ้วของเธอไปมา
พร้อมกับอวดรูปเธอกับเพื่อนคณะนักแสดงทุกคน ซึ่งถูกมัดเท้าจนเรียวเล็กเช่นเดียวกับเธอ
เมื่อแม่เฒ่า
กับเพื่อนนักแสดงเริ่ม เต้นรำประกอบเพลงเมื่อเกือบ 25 ปีที่แล้ว
ในขณะนั้น เป็นยุคทศวรรษที่ 1980
ที่จีนเพิ่งฟื้นตัวจากกระแสปฏิวัติวัฒนธรรม
(ค.ศ.1969-1976) ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสซ้ายจัดครอบงำจีนอย่างรุนแรง
อะไรก็ตามที่เป็นตะวันตก หรือเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูงเป็นสิ่งนอกรีต
และจะต้องถูกกำจัด
ในยุคที่พวกเธอเริ่มสนุกสนานกับการเต้นรำนั้น
มรดกตกค้างจากการปฏิวัติฯยังคงอยู่ พวกเธอถูกมองว่าเป็นพวกนอกคอก
เป็นคนแปลกในสายตาของสังคม
หยังหยัง
นักเขียนวัย 43 ซึ่งเติบโตมาท่ามกลางบรรยากาศหมู่บ้านหลิวอี้ว์
รำลึกถึงช่วงเวลานั้นว่า “ฉันและเพื่อนๆต้องแอบรวมกลุ่มเต้นรำตามเสียงเพลง” เพราะกระแสตกค้างจากการปฏิวัติยังคงอยู่
หยังกลับมายังหมู่บ้านเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของโจว และหญิงมัดเท้ารายอื่นๆกว่า
300 ชีวิต ซึ่งหยังประทับใจเรื่องราวของพวกเธอหลังได้ยินว่า
แม่เฒ่าทั้งหลายต่างแอบเต้นรำประกอบเพลง ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นสมัยหยัง
“คุณอาจจะเชื่อว่า
สาวจากยุคประเพณีเก่าแก่เหล่านี้ ต้องต่อต้านการเต้นรำและเพลงสมัยใหม่
ทว่า น่าตกใจที่
พวกเธอกลับยอมรับสิ่งเหล่านี้อย่างเต็มใจ...ที่จริงบรรดาสาวๆที่ถูกพันธนาการอยู่ในกรอบจารีตประเพณี
กลับเต้นได้ดีกว่าเราเสียอีก”
หยังกล่าว
แม่เฒ่าโจว
เอื้อนเอ่ยเรื่องราวของชีวิตห้วง 3
แผ่นดินของเธอว่า
ก่อนประธานเหมาสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ.1949 นั้น ชีวิตของพวกเธอแสนจะสุขสบาย
ด้วยสังคมยังคงมีกระแสนิยมความงาม โดยวัดจากขนาดของเท้า ยิ่งเท้าเล็กเท่าไหร่ยิ่งหมายถึง
โอกาสที่มากขึ้นเท่านั้น เท้าดอกบัวทองคำของแม่เฒ่าโจว
ทำให้เธอได้มีโอกาสแต่งงานกับชายหนุ่มรูปหล่อ ฐานะดี ซึ่งชีวิตสมรสของเธอก็ดำเนินไปอย่างสุขสม
แม้จะต้องแต่งงานถึง 2 ครั้ง
กระทั่งยุคปฏิวัติจีนใหม่ของพรรคค้อนเคียว
ที่พิชิตชัยชนะในปี ค.ศ. 1949
นั้น ชะตาของแม่เฒ่าก็ถึงจุดพลิกผัน
เมื่อบ้านของเธอถูกยึด พ่อแม่สามีคนที่ 2 ถูกทุบตีจนตาย
เนื่องจาก ครองทรัพย์สินจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกับสังคมคอมมิวนิสต์
โจวถูกริบทรัพย์สิน จนเธอจำต้องยอมก้มหน้ารับชะตากรรม ทำงานหนักในคอมมูน ทั้งที่เท้าทั้งสองข้างก็มิอำนวยให้เธอใช้แรงงงาน
---------------
ตอนนี้
ยังมีธรรมเนียมรัดเท้าอยู่
ภาพเอ็กซ์เรย์