วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครบเครื่องเรื่อง"ไข้หวัด"

ไข้หวัดใหญ่

ครบเครื่องเรื่อง"ไข้หวัด"
หวัดเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางคนอาจเป็นปีละหลายครั้ง (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และ เด็กที่เพิ่งเข้าโรเรียนในปีแรก ๆ อาจเป็นเฉลี่ยประมาณ เดือนละครั้ง) ทำให้ต้องสูญเสียแรงงาน เวลาเรียน และสิ้นเปลืองเงินทองไปปีละมาก ๆ ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไว้รัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด(เชื้อหวัด) มีอยู่เกือบ 200 ชนิด ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน กันทำให้เกิดอาการอักเสบของทางเดินหายใจ ส่วนต้น (จมูก และคอ) ครั้งละชนิด

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ก็จะป่วยเป็นไข้หวัดห่างขึ้นและมีอาการรุนแรงน้อยลงไป โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายโดยการอยู่ใกล้ชิดกัน จึงพบเป็นกันมากตามโรงเรียน โรงงาน และที่ ๆ มีคนอยู่รวมกลุ่มกันมาก ๆ เป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี มักจะพบมากในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนในฤดูร้อนจะพบน้อยลง

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อหวัด ซึ่งเป็นไวรัส (virus) มีอยู่ร่วม 200 ชนิดด้วยกัน การเกิดโรคขึ้นในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เชื้อหวัดมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน นอกจากนี้ เชื้อหวัด ยังอาจติดต่อโดยการสัมผัสมือกล่าวคือ เชื้อหวัด อาจติดที่มือของคน ๆ นั้น และเมื่อใช้นิ้วมือขยี้ตาหรือแคะจมูก เชื่อก็จะเข้าสูร่างกายของคน ๆ นั้นจนกลายเป็นไข้หวัดได้ ระยะฟักตัว (ระยะตั้งแต่ผู้ป่วยรับเชื้อเข้าไปนกระทั่งมีอาการเกิดขึ้น) 1-3 วัน

อาการ
มีไข้ตัวร้อนเป็นพัก ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลี่ย ปวดหนักศีรษะเล็กน้อย ไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ เล็กนอ้ย ลักษณะสีขาว บางครั้งอาจทำให้รู้สึกเจ็บแถวลิ้นปี่เวลาไอ
ในผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้ มีเพียงคัดจมูก น้ำมูกใส ในเด็กมักจับไข้ขึ้นมาทันทีทันใด บางครั้งอาจมีไข้สูง และชัก ท้องเดิน หรือถ่ายเป็นมูกร่วมด้วย ถ้าเป็นอยู่เกิน 4 วัน อาจมีน้ำมูกข้นเหลือกหรือเขียวหรือไอมีเสลดเป็ฯสีเหลืองหรือเขียว จากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย และอาจมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมา ซึ่งจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมด้วย

สิ่งที่ตรวจพบ
ไข้ น้ำมูก เยื่อจมูกบวม และ แดง คอแดงเล็กน้อย ในเด็กอาจพบต่อมทอนซิลโต แต่ไม่แดงมาก และ มีหนอง

อาการแทรกซ้อน
ที่พบบ่อยเกิดจากกาอักเสบแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย (bacteria) ทำให้มีน้ำมูกหรือแสลดเป็นสีเหลือง หรือเขียว ถ้าลุกลามไปยังบริวเณใกล้เคียง อาจทำให้เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ในเด็กเล็ก อาจทำให้มีอาการลักจากไข้สูงท้องเดิน บางคนอาจมีเสียงแหบ เนื่องจากกล่องเสียงอักเสบ บางคนอาจมีอาการวิงเวียน เนื่องจากอวัยวะการทรงตัวภายในหูชั้นในอักเสบ ดังที่เรียกว่า หวัดลงหู ซึ่งจะหายได้เองภายใน 3-5 วัน โรคแทรกซ้อนมักเกิดในผู้ป่วยที่ไม่ได้พักผ่อนตรากตรำงานหนัก ร่างกายอ่อนแอ (เช่น ขาดอาหาร) ในทารกหรือคนสูงอายุ

การรักษา
เนื่องจากไขข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่ยาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ เพียงแต่ให้การรักษาไปตามอาการเท่านั้น ได้แก่

แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ดังนี้
1.พักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนักหรือออกกำลังมากเกินไป
2.สวมใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น อย่าให้ถูกฝน หรือถูกอากาศเย็นจัด และอย่าอาบน้ำเย็น
3.ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยลดไข้ และทดแทนน้ำ ที่เสียไปเนื่องจากไข้สูง
4.ควรกินอาหารอ่อน น้ำข้าว น้ำหวาน น้ำส้ม น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มร้อน ๆ
5.ใช้ผ้าชุบน้ำ (ควรใช้น้ำอุ่นหรือน้ำก๊อกธรรมดา อย่าใช้น้ำเย็นจัด หรือน้ำแข็ง) เช็ดตัวเวลา มีไข้สูง

ข้อแนะนำเหล่านี้สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีไข้จากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน
ให้ยารักษาตามอาการ ดังนี้
*สำหรับผู้ใหญ่ และ เด็กโต (อายุมากกว่า 5 ปี )
*ถ้ามีไข้ ให้ยาลดไข้ เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล
*ถ้ามีอาการคัดจมูกหรือจาม ให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน
*ถ้ามีอาการไอ ให้ยาแก้ไอ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม

สำหรับเด็กเล็ก(อายุต่ำกว่า 5 ปี )
*ถ้ามีไข้ให้ใช้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ชนิดน้ำเชื่อม เบบี้แอสไพริน
*ถ้ามีอาการคัดจมูกหรือจาม ให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟริรามีนชนิดน้ำเชื่อม
*ถ้ามีน้ำมูกคัดจมูกมาก หายใจไม่สะดวกให้ใช้ลูกยางดูดเอาน้ำมูกออกบ่อย ๆ
*ถ้ามีอาการไอร่วมด้วยให้ยานำเชื่อมชนิดที่มียาแก้แพ้ผสมกับยาขับเสมหะ อยู่ในขวดเดียวกัน เช่น ยาขับเสมหะ คลอริเอต, ยาขับเสมหะไพริทอน ไม่ต้องให้ยาแก้แพ้แยกต่างหาก
*ถ้าเด็กเคยชักหรือมีไข้สูงร้องกวนไม่ยอมนอน ให้ยากันชัก เช่น ฟีโนบาร์บิทาล

ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องให้เพราะว่าไม่ได้เจอผลต่อการฆ่าเชื้อหวัดซึ่งเป็นเชื้อหวัดซึ่งเป็นไวรัส(อาการที่สังเกตุได้คือมีน้ำมูกใส ๆ ) ยกเว้นในรายที่สงสัยว่ามีอาการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เช่น มีน้ำมูกหรือเสลดข้นเหลืองหรือขียว คอแดงจัด หรือปวดหู ยาปฏิชีวนะ ให้เลือกใช้เพนวี แอมพิซิลลิน ในรายที่แพ้เพนิ่ซิลลิน ใหใช้อีริโทรมัยซิ่น แทน ควรให้นาน 7-10 วัน

ถ้าไอมีเสลดเหนียว ให้งดยาแก้แพ้ และ ยาแก้ไอ ควรให้กินยาขับเสมหะ เช่น มิสต์สกิล แอมมอน และให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ห้ามดื่มน้ำเย็น ถ้ามีอาการหอบ หรือมีไข้สูงนานเกิน 7 วันควรแนะนำไปโรงพยาบาล โดยเร็ว อาจจะต้องเอกเรย์หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ

ข้อแนะนำ
ในปัจจะบันไม่มียาที่ใช้รักษา และป้องกันไข้หวัด อย่งางได้ผล การรีกษา อยู่ที่การพักผ่อนและการปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ยาที่ใช้ก็เป็ยาที่รักษาตามอาการเท่านั้น โดยทั่วไปอาการตัวร้อนมักจะหายภายใน 4-5 วัน

ผู้ป่วยบางคนถึงแม้จะหายตัวร้อนแล้ว แต่ก็อาจมีน้ำมูกไหล และไอต่อไปได้ บางคนอาจไอโครก ๆ นาน 1/2 - 1 เดือน ซึ่งมกจะเป็นลักษณะแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อย เป็นสีขาว ถ้าพบว่าผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติ อื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ไม่ต้องให้ยาอะไรทั้งสิ้น ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ห้ามดื่มน้ำ เย็น อาการไอจะค่อย ๆ หายไปเอง ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แก่ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดทุกรายยกเว้นในรายที่สงสัยจะมีอาการแทรกซ้อนเท่านั้น

ผู้ที่เป็นไข้หวัด (มีอาการตัวร้อนร่วมด้วย) เรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ ประจำอาจมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจรั่ว มากแต่กำเหนิด ธาลัลซีเมีย โรคโหลิตจางอะพลาสติก โรคขาดอาหาร เป็นต้น จึงควรตรวจดูว่ามีสาเหตุเหล่านั้นร่วมด้วยหรือไม่ หากสงสัยควรแนะนำไปโรงพยาบาล

ผู้ที่เป้นหวัด และจามบ่อย โดยไม่มีไข้ มักเกิดจากการแพ้อากาศ แพ้ฝุ่น หรือละอองเกสร เป็นต้น มากกว่าจากการติดเชื้อไวรัส

ผู้ที่มีอาการไข้และมีน้ำมูก แต่ตัวร้อนจัดตลอดเวลา กินยาลดไข้ก็ไม่ค่อยทุเลา มักจะไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดา แต่อาจมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น หัด ปอดอักเสบ หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ ควรตรวจดูอาการของโรคเหล่านี้อย่างละเอียด

นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้ออื่น ๆ อีกหลายชนิด ที่ในระยะแรกอาจแสดงอาการคล้ายไข้หวัด ได้เช่น มีเลือดออก ไอกรน คอตีบ โปลิโอ ตับอักเสบ จากไวรัส ไข้รากสาดน้อย สอมงอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น จึงควรติดตามอดูอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ถ้าพบว่ามีไข้นานเกิน 7 วัน หรือมีอาการผิดไปจากไข้หวัดธรรมดา ควรแนะนำให้ผู้ป่วยไปโรงพยาบาล อย่าซื้อหรือจ่ายยาชุดแก้หวัดที่มีคลอแรมเฟนิคอล เตตราซัยครีน หรือเพร็ดนิโซโลน ผสมอยู่ด้วย หรือยาผงแก้เด็กตัวร้อนที่เข้าคลอแรมเฟนิคอล หรือเตตราซัยคลีน ให้ผู้ป่วยกิน นอกจากจะไม่จำเป็นแล้ว ยังเป็นอัตรายได้

การป้องกัน
1. ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก อย่านอนปะปน กับผู้อื่น เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าปิดปาก หรือจมูก ไม่หายใจรดผู้อื่น
2.อย่าเข้าใกล้หรือนอนรวมกับผู้ป่วย
3.ระวังรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอโดย เฉพาะในเวลาที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง
4.อย่าตรากตรำงานหนักเกินไป แต่ควรออกกำลังกายแข็งแรงอยู่เสมอ
5.ไม่ควรเข้าไปที่ที่คนแออัด เช่น ตามโรงมหรสพ โดยเฉพาะในขณะที่มีการระบาดของไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่
6.ไม่ควรอาบน้ำหรือสระผมด้วยน้ำที่เย็นเกินไป โดยเฉพาะในเวลาที่อากาศเย็น
7.ควรหมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ (ทั้งผู้ป่วยและที่คนที่อยู่ใกล้เคียง) และอย่าใช้นิ้วมือขยี้ ตาหรือแคะไชจมูก



ความรู้เกี่ยวกับโรคหวัด
คนเราส่วนมากเคยเป็นหวัดมาแล้วทั้งนั้น เพราะว่าเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหวัดมีอยู่ทั่วไป บางคนอาจจะเป็นหวัดปีละ 2 ถึง 4 ครั้ง เป็นจนเซ็ง เซ็งว่า ทำไมยังไม่มีใครทำลายเชื้อโรคนี้ให้น้อยลง ที่จริงโรคหวัดมันมีมาคู่กับมนุษยชาตินานมาแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถหายาฆ่าเชื้อหวัดได้ ดังนั้นทางที่ดีที่จะรักษาโรคหวัดได้คือ ความรู้ที่ใช้ในการป้องกัน

โรคหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่ราว 200 ชนิด ที่ทำให้เกิดโรคหวัดได้ หวัดอาจจะติดต่อกัน ทางการไอหรือจาม การใช้เครื่องใช้ไม้สอยร่วมกับคนที่เป็นหวัด มีคนเข้าใจผิดคิดว่าหวัดติดต่อกัน ทางการไอจามใส่กันมากที่สุด แต่ที่จริงแล้วติดต่อทางมือมากที่สุด เขาพิสูจน์กันมาแล้วในต่างประเทศ ในประเทศตะวันตกหวัดมักระบาดมากที่สุดในฤดูหนาว การที่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าในฤดูหนาว คนเราจะอยู่ในบ้านมากกว่านอกบ้าน เวลาคนเป็นหวัดไอหรือจามก็มักจะเอามือปิดปาก เชื้อหวัดก็จะติดมือไปติดลูกบิดซึ่งเป็นแหล่งแพร่เชื้อไปสู่มือคนอื่น เมื่อเอามือไปป่าย ไปเช็ดหน้าตาจมูกหรือปากก็จะติดเชื้อหวัด

อาการหวัด มักจะเริ่มด้วยอาการคันคอ จาม ไอแห้งๆ คัดจมูก น้ำมูกไหล มักจะเกิดอาการ 2 ถึง 3 วันหลังจากได้รับเชื้อหวัด แล้วมันอาจจะเป็นอยู่นาน 2 ถึง 14 วัน แต่คนส่วนใหญ่เป็นอยู่นาน 7 วัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้แก่

อายุ คนที่อายุน้อยกับคนสูงอายุเป็นได้บ่อยกว่า คนสูบบุหรี่เป็นมากกว่าคนที่ไม่สูบ การได้รับเชื้อมากเป็นได้มากกว่าการได้รับเชื้อน้อย ภูมิต้านทานของร่างกายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง คนที่มีภูมิต้านทานโรคลดจากความเครียด การอดนอน ดื่มเหล้า ตากแดด ฯลฯ จะเป็นโรคได้ง่าย

เมื่อเป็นหวัด การรักษาที่ดีคือการพักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้ดี ดื่มน้ำอุ่นให้เยอะๆ เข้าไว้ น้ำอุ่นจะดีกว่าน้ำเย็น เนื่องจากมันจะไม่ทำให้อาการไอเป็นมากขึ้น ยาส่วนมากที่ใช้ ไม่ใช่เพื่อฆ่าเชื้อหวัดโดยตรงแต่เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการหวัด เช่น

ยาแอนติฮีสตามีน เช่น ยา CPM, Benadryl, Chlortrimeton ยาพวกนี้ไปลดน้ำมูก ลดการจาม ให้ดีต้องใช้ตั้งแต่ตอนที่เริ่มเป็นหวัด ยาพวกนี้ทำให้ง่วง ต้องระวังโดยเฉพาะคนที่ต้องขับรถ หรือทำงานกับเครื่องจักร อีกทางหนึ่งมันอาจจะทำให้นอนไม่หลับ เช่น คนไข้ชายสูงอายุ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก ยาพวกนี้อาจทำให้ปัสสาวะไม่ค่อยออก เกิดปัสสาวะคั่ง ซึ่งทำให้นอนไม่หลับเพราะต้องตื่นขึ้นมาถ่ายปัสสาวะทั้งคืน

ยาลดการคัดจมูก เช่น Neo-synephrine, Sudafed มันมีฤทธิ์ทำให้เยื่อบุจมูกหดตัว มีการบวมน้อยลง ส่วนยาชนิดพ่นจมูกก็เหมือนกัน แต่ไม่ควรใช้เกินวันละ 3-4 ครั้ง เพราะจะทำให้อาการเลวลงเนื่องจากเมื่อใช้มากเยื่อบุจมูกจะบวมมากขึ้น คนที่มีโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงยานี้เนื่องจากมันทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

ยาแก้ไอ dextromethorphan, codeine, หรือยาลดเสมหะ guaifenesin ก็มีขายตามร้านขายยาทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น